News

ส่องสถิติการลงทุนจากต่างชาติของกลุ่มประเทศอาเซียน

อ้างอิงจากรายงานของ Milken Institute กลุ่มประเทศที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั่วโลกเป็นพิเศษและมีการลงทุนอย่างเข้มข้นแม้จะอยู่ภายใต้สถานการณ์การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจากวิกฤตการณ์โควิด-19 อย่างต่อเนื่องยังคงเป็นกลุ่มของประเทศเกิดใหม่และกำลังพัฒนาในทวีปเอเชีย (Emerging and Developing Asia) โดยสามารถดึงดูดเงินทุนได้กว่าครึ่งหนึ่ง (53.2%) ของทุนทั้งหมดที่ลงทุนในกลุ่มประเทศเกิดใหม่และประเทศพัฒนาทั่วโลกในปี 2018 – 2022 ตามรายงานของ Milken Institute

เมื่อพิจารณาความดึงดูดในการลงทุนเป็นรายประเทศในโซนเอเชียพบว่านอกจากสิงคโปร์ที่อยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว มาเลเซีย ไทย และจีน ถือเป็น Top 3 ในกลุ่มประเทศเกิดใหม่และกำลังพัฒนาที่มีปัจจัยเอื้อต่อการลงทุนมากที่สุดตามลำดับ โดยเทียบจากดัชนี Global Opportunity Index หรือ GOI ที่จัดทำโดย Milken Institute จากการพิจารณาประเทศใน 5 กลุ่มปัจจัย ประกอบด้วย การรับรู้ในธุรกิจ (Business perception) โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ (Economic fundamentals) บริการทางการเงิน (Financial services) กรอบแนวคิดเชิงสถาบัน (Institutional Framework) และการมีมาตรฐานและนโยบายระหว่างประเทศไทย (international standards & policy) เพื่อจัดลำดับประเทศที่มีความดึงดูดในการลงทุนมากที่สุดจากความสามารถในการรองรับการลงทุนดังที่กล่าวมาข้างต้น โดยถึงแม้ว่ากลุ่มประเทศพัฒนาแล้วจะมีเสถียรภาพและระบบที่เอื้ออำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุนมากกว่า แต่ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่และกำลังพัฒนากลับเป็นทางเลือกยอดนิยมในกลุ่มนักลงทุนที่ต้องการแสวงหาผลตอบแทนที่สูง

Global Opportunity Index (GOI) of Emerging and Developing Asian countries.

(Source: Milken Institute)

เมื่อเทียบลำดับการเติบโตของมูลค่าการลงทุนของประเทศกลุ่มอาเซียนในช่วงปี 2019 – 2022 พบว่าสองอันดับแรก ได้แก่ มาเลเซียและไทย ค่อนข้างสอดคล้องกับการจัดลำดับ GOI ดังที่กล่าวมาก่อนหน้า ในขณะที่พม่าเป็นอันดับที่สามที่มีการเติบโตมูลค่าการลงทุนมากที่สุด อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณามูลค่าเงินลงทุนแล้วพบว่าจำนวนเงินลงทุนเข้าประเทศพม่ายังอยู่ในกลุ่มรั้งท้ายเมื่อเทียบกับประเทศอาเซียนอื่นๆ ที่เหลือ

Flows of Inward Foreign Direct Investment (FDI) to ASEAN Countries (Million USD).

(Source: ASEAN Statistics Division)

สำหรับประเทศที่เลือกลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียนโดยมีมูลค่าการลงทุนสะสมในช่วงปี 2018 – 2022 มากที่สุด คือ นักลงทุนจากญี่ปุ่น ตามมาด้วยสหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ในขณะที่จีนครองที่ 4 จากการจัดลำดับดังกล่าว โดยประเทศไทยติดอันดับที่ 9 ของประเทศที่มีการลงทุนภายในประเทศภูมิภาคอาเซียนมากที่สุดเช่นเดียวกัน

Flows of Inward Foreign Direct Investment (FDI) into ASEAN by Source Country (Million USD).

(Source: ASEAN Statistics Division)

ดังนั้น จากสถิติที่ได้กล่าวมาทั้งหมดก่อนหน้านี้ทำให้สามารถเห็นได้ชัดเจนว่าตลาดภูมิภาคอาเซียนยังคงมีความน่าดึงดูดในการลงทุน ก่อให้เกิดการแข่งขันอย่างเข้มข้นระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียนในการเสนอเงื่อนไขเพื่อดึงดูดเงินลงทุนเข้าประเทศตนเองให้ได้มากที่สุด รวมไปถึงประเทศไทยที่มีการวางโครงสร้างการลงทุนอย่างเป็นระบบและมีการสนับสนุนผู้ลงทุนในประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2023 ทาง The Board of Investment of Thailand (BOI) ได้ประกาศสถิติการลงทุนจากต่างประเทศในประเทศไทยโดยพบว่าจำนวนโครงการในอุตสาหกรรมเครื่องจักรและยานยนต์และเงินลงทุนในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ยื่นขอรับการส่งเสริมลงทุนมีจำนวนมากที่สุด และเมื่อจัดลำดับแหล่งที่มาของเงินทุนพบว่า จีน เป็นประเทศที่มีจำนวนโครงการและเงินลงทุนในประเทศไทยมากที่สุดในปี 2023

ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะจัดอยู่ในลำดับต้นๆ สำหรับประเทศอาเซียนที่มีความดึงดูดในการลงทุนและมีการลงทุนมากที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียนต่างก็มีการพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาที่ผ่านมาเช่นเดียวกันเพื่อที่จะรองรับการลงทุนจากต่างชาติดังกล่าวโดยเฉพาะทุนจากจีนซึ่งเป็นแหล่งสร้างรายได้การลงทุนจากต่างชาติหลักให้กับประเทศไทยในช่วงปีที่ผ่านมา ดังนั้น ประเทศไทยจึงไม่ควรนิ่งนอนใจและยังควรพัฒนาประเทศให้มีความก้าวหน้าขึ้นไปอีกเพื่อให้ยังคงสามารถรักษาฐานผู้ลงทุนในปัจุบันอย่างเหมาะสมและรองรับการลงทุนจากต่างชาติได้อีกในอนาคต

ที่มา: Milken Institute, ASEAN Statistics Division, The Board of Investment of Thailand

การเตรียมความพร้อมของการมี ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (Virtual Bank) ในประเทศไทย 

ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เปิดรับฟังความเห็นต่อแนวทางการอนุญาตให้จัดตั้งธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (Virtual Bank) ตั้งแต่ต้นปี 2566 ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหลายแห่งต่างให้สนใจที่จะขอใบอนุญาตเพื่อการลงทุนในการจัดตั้ง Virtual Bank ในประเทศ ดังนั้น Blog ฉบับนี้ผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ Virtual Bank โดยสามารถสรุปเป็นประเด็นได้ดังนี้ 

Virtual Bank คืออะไร

ธปท. ให้ความหมายของ ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา คือเป็นธนาคารพาณิชย์รูปแบบใหม่ที่ให้บริการผ่านช่องทางดิจิทัลเป็นหลักโดยไม่มีสาขา เครื่องถอนเงินสดอัตโนมัติ (ATM) หรือเครื่องฝากเงินสดอัตโนมัติ (CDM) เป็นของตนเอง แต่ยังสามารถให้บริการทางการเงินได้อย่างครบวงจร อย่างไรก็ตาม เพื่อให้บริการลูกค้าที่ยังต้องการใช้เงินสด หรือให้บริการที่ยังไม่สามารถทำผ่านช่องทางดิจิทัลได้อย่างเต็มรูปแบบ ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา อาจแต่งตั้งตัวแทนรับฝาก/ถอนเงิน หรือให้บริการผ่านเครือข่าย ATM ของธนาคารพาณิชย์อื่น  

ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา มีความแตกต่างจากธนาคารพาณิชย์แบบดั้งเดิม นอกเหนือจากเรื่องการมีสำนักงานสาขา กล่าวคือ ผู้ขอจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา ต้องมีความเชี่ยวชาญในการให้บริการผ่านช่องทางดิจิทัล, มีความเชี่ยวชาญในการนำเทคโนโลยีและข้อมูลที่หลากหลาย อาทิเช่น ข้อมูลทางการเงินและข้อมูลทางเลือก เช่น พฤติกรรมการใช้จ่าย มาใช้ประเมินความเสี่ยงและวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งสามารถนำเสนอการบริการทางการเงินในรูปแบบใหม่ (new value proposition) ให้แก่ลูกค้ากลุ่มต่าง ๆ ได้อย่างครบวงจรและเหมาะสม 

ใครคือกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของ Virtual Bank 

Virtual Bank สามารถให้บริการลูกค้าได้ทุกกลุ่ม โดยเน้นลูกค้ารายย่อย และ SMEs ที่คุ้นเคยกับการทำธุรกรรมบนโลกดิจิตัล รวมถึงกลุ่มที่ยังเข้าไม่ถึงบริการทางการเงินในระบบ (Unserved) เช่น ไม่เคยมีบัญชีเงินฝากกับสถาบันการเงิน หรือเข้าไม่ถึงสินเชื่อในระบบ และกลุ่มที่ยังไม่ได้รับการบริการที่ดีพอ ไม่ตอบโจทย์ความต้องการของตน (underserved) ให้มีโอกาสเข้าถึงหรือได้รับบริการทางการเงินที่ดีขึ้น 

ผลกระทบของการเปิด Virtual Bank ต่อธนาคารพาณิชย์ดั้งเดิม หรือการเข้ามาทดแทนธนาคารพาณิชย์ 

จากข้อมูลของ ธปท. ได้อธิบายว่าในต่างประเทศหลายๆ ที่ การประกอบธุรกิจ Virtual Bank ไม่ได้กระทบกับผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ดั้งเดิม หากแต่ช่วยกระตุ้นการแข่งขัน และเพิ่มประสิทธิภาพในระบบการเงิน เช่นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินรูปแบบใหม่ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า และลดค่าธรรมเนียมการใช้บริการ 

กรณีศึกษาความสำเร็จของ Virtual Bank ในต่างประเทศ  

Nu Bank ธนาคาร Virtual Bank สัญชาติบราซิลที่ใหญ่ที่สุดในละตินอเมริกา มีลูกค้ามากกว่า 85 ล้านคน ทั้งในบราซิล แม็กซิโก และโคลอมเบีย อีกทั้งยังเป็นบริษัทที่วอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffett) เข้าลงทุนเมื่อปี พ.ศ. 2564 ซึ่งมูลค่ากว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ โดยจุดเด่นของ NuBank คือได้ผลตอบแทนสูง ทำธุรกรรมได้ตลอด 24 ชั่วโมง 7 วัน ไม่มียอดฝากขั้นต่ำ และไม่เก็บค่ารักษาบัญชี

ใบอนุญาต Virtual Bank ที่มี 4 กลุ่มนักลงทุนสนใจ และคาดว่าจะยื่นคำขออนุญาตจัดตั้ง Virtual Bank 2567 

CP x True Money x Ant Group 

กลุ่ม CP มีความสนใจที่จะยื่นขอใบอนุญาต โดยมีแผนการที่จะยื่นผ่านบริษัทในเครืออย่าง ทรู มันนี่ (True Money) รวมทั้งบริษัทมีพาร์ทเนอร์หลักสำคัญอย่าง Ant Group หรือชื่อเดิม Ant Financial Services ซึ่งปัจจุบันเป็นพาร์ทเนอร์ และผู้ถือหุ้นใน บริษัทแอสเซนด์ มันนี่ (Ascend Money Group) บริษัทฟินเทคของกลุ่มซีพี ภายใต้บริการ ทรู มันนี่

SCBX x KakaoBank x WeBank 

นที่ 22 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา SCBX  ได้ประกาศจับมือกับ WeBank จากประเทศจีนเพิ่มอีก 1 ราย หลังจากก่อนหน้านี้ SCBX ได้ประกาศลงนามความร่วมมือกับ KakaoBank ผู้นำด้านธนาคารดิจิทัลรายใหญ่ของเกาหลีใต้ เพื่อเตรียมพร้อมขยับตัวเข้าสู่ Virtual Bank มีจุดเด่นด้านการนำเทคโนโลยีล้ำสมัยปรับใช้เพื่อยกระดับประสบการณ์การใช้งาน เช่น Chatbot และ AI ซึ่งทำให้ SCBX เป็นอีกหนึ่งกลุ่มนักลงทุนที่พร้อมจะยื่นขอใบอนุญาต

JMART x KB Financial Group

JMART ให้ความสนใจ และพัฒนาเรื่อง Virtual Bank มาอย่างต่อเนื่อง โดยวางเป้าให้บริษัทในเครืออย่าง J Ventures เป็นผู้ขับเคลื่อนเทคโนโลยีดังกล่าวสู่ผู้บริโภค โดยมีพันธมิตรที่สำคัญคือ KB Financial Group กลุ่มธุรกิจการเงินชั้นนำในประเทศเกาหลีใต้ นอกจากนี้ JMART ยังมีความเชี่ยวชาญในเรื่องของสินเชื่อที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ Unserved Segment หรือกลุ่มลูกค้าที่ยังเข้าไม่ถึงบริการทางการเงิน ในต้นทุนและราคาที่เหมาะสม

GULF x OR x AIS x KTB

GULF เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่เตรียมความในการยื่นขอใบอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยด้านการจัดตั้ง Virtual Bank โดยจะร่วมมือกับ บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ AIS และธนาคารกรุงไทย (KTB) นอกจากนี้ ยังมีพันธมิตรอีกหนึ่งรายอย่าง บมจ.ปตท. น้ำมัน และการค้าปลีก (OR) ที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาเงื่อนไขการร่วมลงทุนด้วย

               สุดท้ายผู้เขียนเชื่อว่า ถ้าธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถบริหารจัดการกับระบบฐานข้อมูลทางการเงินได้ ผ่านความเชี่ยวชาญจากกลุ่มนักลงทุนทั้ง 4 กลุ่มได้ การบริการแบบ Virtual Bank จะเป็นประโยชน์กับผู้บริโภคในประเทศไทยทุกระดับชั้น รวมถึงเพิ่มโอกาสในแข่งขันทางธุรกิจของประเทศให้เป็นที่ยอมรับในเวทีโลกขึ้นอีกด้วย

เตรียมตัวก้าวเข้าสู่ปี 2024:ข้อควรรู้ส าหรับผู้ประกอบการเพื่อการด าเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

ความซื่อตรง (Integrity) คือรากฐานที่ส าคัญของการท าธุรกิจที่ยั่งยืน

นอกจากองค์กรณ์ผู้ประกอบการธุรกิจแล้วนั้น แน่นอนว่า
การด าเนินธุรกิจจะสามารถด าเนินไปได้ต่อเมื่อได้รับการยอมรับและ
มีความต้องการจากผู้บริโภค องค์กรณ์คู่ค้า และนักลงทุน หากแต่
การพยายามจะพูดโน้มน้าวจูงใจผู้เกี่ยวข้องเหล่านั้นที่มากเกินไป
กว่าขอบเขตที่ผู้ประกอบการจะสามารถท าได้จริงอาจน าไปสู่ความ
เสื่อมเสียขององค์กรณ์และการสูญเสียความเชื่อใจในระยาวของ
ผู้เกี่ยวข้องได้โดยง่ายดาย ทั้งนี้การสื่อสารขององค์กรณ์จึงเป็นสิ่งที่
ส าคัญเป็นอย่างมาก เพราะการสื่อสารและแสดงออกของอค์กรณ์จ าต้องสามารถที่จะโน้มน้าวจูงใจและสร้างความเชื่อใจ
ระหว่างองค์กรณ์กับผู้เกี่ยวข้อง แต่จ าต้องไม่เป็นการน าเสนอสิ่งที่มากจนเกิดความจริงที่อาจน าไปสู่ความเข้าใจผิดได้ใน
อนาคต

การประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI: Artificial Intelligence) อย่างชาญฉลาด 

คงจะปฎิเสธไม่ได้ว่าปี 2023 ที่ผ่านมา ได้เป็นปีที่พิสูจน์
ให้เห็นศักยภาพในด้านต่าง ๆ ของปัญญาประดิษฐ์ในแวดวงธุรกิจ
เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส าหรับปัญหาประดิษฐ์เชิง
ก าเนิด (Generative AI: Generative Artificial Intelligence)
อาทิ ChatGPT และ MidJourney ที่สามารถน ามาประยุกต์ช่วย
ทุ่นแรงในการท างานด้านต่าง ๆ เช่น การวิเคราะห์แยกแยะข้อมูล
การแปลภาษา และการท างานแทนที่มนุษย์อาทิ การรังสรรค์
ภาพประกอบ หรือแม้แต่การสร้างวิดีโอโฆษณาต่าง ๆ ศักยภาพ
ของปัญญาประดิษฐ์ที่พัฒนาอย่างรวดเร็วจนเดินทางมาถึงในจุดที่สามารถทั้งช่วยทุ่นแรงและท างานแทนมนุษย์ได้อย่างไร้ที่ติ
จนได้น ามาซึ่งความคิดเห็นที่เปิดรับและความเห็นที่แตกต่างออกไป อย่างไรก็ดี ศักยภาพของปัญญาประดิษฐ์ในปัจจุบันยังคง
มีแนวโน้มที่จะพัฒนาต่อไป ท าให้การเปิดรับ ท าความเข้าใจ และหาทางน าปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์ใช้ร่วมกับทรัพยากรณ์
มนุษย์ในองค์กรณ์อย่างลงตัวตามจุดประสงค์ต่าง ๆจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กรณ์เป็นแน่แท้

เปิดรับวัฒนธรรมการทำงานแบบไฮบริด (Hybrid working environment) 

การท างานแบบไฮบริด คือหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่เกิด
มาจากวิกฤตการณ์โควิด 19 ที่ส่งผลระยะยาวต่อวัฒนธรรมการ
ท างานขององค์กรณ์ต่าง ๆ ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นองค์การในภาครัฐ
หรือภาคเอกชน ทุก ๆ องค์กรณ์ล้วนต้องเปิดรับวัฒนธรรมการ
ท างานแบบไฮบริดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในยามวิกฤตการณ์โควิด 19
และถึงแม้ในขณะนี้หลาย ๆ องค์กรณ์จะกลับสู่การเข้าท างานที่
องค์กรณ์ทุกวันท าการณ์ ก็ยังมีอีกหลากหลายองค์กรณ์ที่พบว่าการ
ท างานแบบไฮบริดอาจเป็นวัฒนธรรมการท างานแบบใหม่ที่ตอบโจทย์องค์กรณ์และพนักงานจนน่าประหลาดใจ เพราะการไม่
ต้องเข้ามานั่งท างานในบริษัทน าไปสู่การประหยัดทรัพยากรของบริษัทในขณะที่พนักงานยังสมารถท างานได้ตามปกติ และยัง
ท าให้พนักงานมีความสุขมากขึ้นที่ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางด้วยเช่นกัน การที่องค์กรณ์เปิดใจน้อมรับวัฒนธรรมการ
ท างานแบบไฮบริดอย่างยืดหยุ่นตามจึงอาจสามารถน าไปสู่ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจในทุกฝ่ายจนคิดไม่ถึงเลยก็ว่าได

ที่มาของข้อมูล/ภาพ : Forbes, IESE, LBS

10 เทรนด์การตลาดแห่งปี 2024

ไม่ว่าสินค้าหรือบริการของจะดีเพียงใด สิ่งที่ผู้ประกอบการจะละเลยไปไม่ได้เลยนั่นก็คือ การท าการตลาดอย่างมีกลยุทธ์
(Strategic Marketing) เพราะหากไม่มีการท าการตลาดที่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะส่งสารได้อย่างน่าดึงดูดถึงกลุ่มผู้บริโภค
เป้าหมาย สินค้าหรือบริการที่ถูกจัดการจัดแจงมากอย่างดิบดีก็คงจะถูกมองข้ามไปอย่างน่าเสียดาย ในวันนี้ทางเราจึงขอ
น าเสนอถึง 10 เทรนด์การตลาดแห่งปี 2024 ที่ผู้ประกอบการควรพึงน ามาประยุกธ์ใช้ในการท าการตลาดเพื่อธุรกิจของตน

(1) Artificial Intelligence (AI)และระบบอัตโนมัติในการตลาด: บริษัทใช้ AI และ
ระบบอัตโนมัติเพื่อปรับปรุงประสบการณ์ลูกค้า โดยตอบค าถาม และแนะน าสินค้า
ในการติดต่อลูกค้าแบบเรียลไทม์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของแคมเปญการตลาดและ
สร้างประสบการณ์ที่เฉพาะบุคคลส าหรับลูกค้า โดยยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของ
แคมเปญและให้ข้อมูลที่เชื่อถือได้ที่มาจากข้อมูลที่มีคุณภาพสูงขึ้น

(2) การตลาดที่สามารถเข้าถึงตัวของลูกค้าได้แบบเฉพาะเจาะจง โดยการใช้ Big Data มาวิเคราะห์: ในยุคปัจจุบัน, เทคโนโลยี
Big Data และ Machine Learning เป็นแนวโน้มส าคัญในการตลาดที่เน้นการเข้าถึงลูกค้าแบบเฉพาะบุคคล ด้วยการใช้ข้อมูล
จากหลายแหล่ง เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้า ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลซับซ้อน เพื่อสร้างกลยุทธ์การตลาดที่เน้นการ
เข้าถึงลูกค้าอย่างเฉพาะเจาะจง และปรับปรุงเนื้อหา ผลิตภัณฑ์ ข้อเสนอ และการสื่อสารให้เหมาะสมกับแต่ละลูกค้า

(3) การเกิดเครื่องมือการตอบค าถาม Answer Engine Optimization (AEO): แนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงการตลาดด้านออนไลน์
โดยการพัฒนา AEO เป็นที่นิยม เมื่อ Search Engine Optimization (SEO) เป็นเครื่องมือที่นับถือ มานานแล้ว AEO เน้นการ
ปรับเนื้อหาออนไลน์ให้ตอบค าถามของผู้ใช้อย่างชัดเจน เพื่อเข้ากับกล่องค าตอบบนผลการค้นหาสูงสุดและระบบตอบกลับ
เสียงอัตโนมัติ โดย AEO จะมุ่งเน้นการสร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพและตอบสนองต่อค าถามของผู้ใช้ในที่เดียว

(4) คอนเทนต์อัตโนมัติ (Content Automation): ปัจจุบันกลยุทธ์การตลาดเน้น
คอนเทนต์ โดยใช้เทคโนโลยี AI เพื่อรักษาความสม ่าเสมอและประสิทธิภาพ ท า
ให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นกับแบรนด์มากขึ้นผ่านการเข้าถึงและสัมผัสคอนเทนต์
ผ่านช่องทางและอุปกรณ์ต่าง ๆ ท าให้เกิดประสบการณ์ที่มีความเชื่อมั่นกับแบ
รนด์ขึ้น

(5) การตลาดที่ยั่งยืนและใส่ใจต่อสังคม: ในปัจจุบัน ผู้บริโภคไม่เพียงแค่สนใจการซื้อสินค้าหรือบริการ แต่ยังต้องการแบรนด์ที่มี
ค่านิยมชัดเจน โดยมุ่งหวังให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นเนื่องจากปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลก
เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความเป็นธรรมทางสังคม

(6) การตลาดเชิงทดลอง: การทดลองสร้างนวัตกรรมเป็นแนวการแข่งขันส าหรับธุรกิจในปัจจุบัน เน้นความคิดสร้างสรรค์และ
การทดลองเพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นให้กับลูกค้าและพนักงาน เป็นการผสานนวัตกรรมทางการตลาดและการสนับสนุนแบ
รนด์ ท าให้มีความพยายามทางการตลาดและเชื่อถือได้มากขึ้น

(7) การตลาดผ่าน Influencer: การใช้ Influencer ในการตลาดเพิ่มประสิทธิภาพ
ด้วยการร่วมมือกับ Micro และ Nano Influencer ที่มีความเกี่ยวข้องและสร้าง
ความเชื่อถือกับกลุ่มเป้าหมาย การใช้ AI เพื่อติดตามผลลัพธ์ของ Influencer เพิ่ม
ความส าเร็จในการตลาดด้วยข้อมูลที่ส าคัญ การร่วมมือกับ Influencer เพื่อสร้าง
การรับรู้และความเชื่อมั่นในแบรนด

(8) การไม่แบ่งแยกและการยอมรับความหลากหลาย: ผู้บริโภคต้องการแบรนด์ที่มีความหลากหลายในผลิตภัณฑ์และการ
โฆษณา และสนับสนุนค่านิยมที่ไม่แบ่งแยกผู้คน แบรนด์ที่ปฏิบัติตามหลักการนี้สร้างฐานลูกค้าที่มั่นคงด้วยอีดเฉกเช่นเดียวกัน

(9) Metaverse แ ละ ก า ร มี ส่ วนร่วม เสมือ น: Metaverse ที่มุ่ ง เ น้น ก ารสร้าง
ประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นและมีส่วนร่วมในโลกดิจิทัล ส่งผลให้นักการตลาดมีโอกาส
สร้างประสบการณ์แบรนด์ที่ท้าทายและเพิ่มการมีส่วนร่วม โดยเปิดตัวผลิตภัณฑ์
เสมือนจริง และแคมเปญการตลาดตามพฤติกรรมดิจิทัลของผู้ใช้ เพื่อสร้างชุมชนและ
เสนอประสบการณ์ที่น่าสนใจ

(10) ระบบนิเวศการตลาดที่ใช้เทคโนโลยี: บริษัทหลายแห่งเริ่มให้ความส าคัญกับการสร้างระบบนิเวศเทคโนโลยีการตลาดที่ ครอบคลุมและบูรณาการ เพื่อปรับปรุงการด าเนินงานและ ROI โดยใช้แนวทางเทคโนโลยีการตลาดแบบองค์รวมและบูรณา การ เช่น ระบบนี้ช่วยปรับปรุงการด าเนินงาน เสริมสร้างความเป็นส่วนตัวของลูกค้า และพัฒนาผลตอบแทนจากการลงทุนโดย ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มาของข้อมูล/ภาพ : Marketing Association of Thailand (MAT)

ซอฟต์พาวเวอร์ของเกาหลีใต้และบริบทของประเทศไทย

ด้วยกระแสของการโปรโมทซอฟต์พาวเวอร์ (soft power) ในประเทศไทย รวมไปถึงการจัดตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติเมื่อปลายปีที่แล้ว ทำให้หลายคนเริ่มหันมาให้ความสนใจ ‘ซอฟต์พาวเวอร์’ อีกครั้งหนึ่งหลังจากที่ได้เห็นกระแสของเกาหลีฟีเวอร์ที่เผยแพร่ไปทั่วโลกในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หรือแม้แต่การส่งออกละครจากจีนและกระแส J-Trend ที่ส่งออกจากญี่ปุ่นในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ซึ่งโดยสรุปแล้วอาจตีความได้ว่าซอฟต์พาวเวอร์นั้นคืออำนาจหรือความสามารถของประเทศที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้อื่นเพื่อให้ได้รับการยอมรับหรือได้มาในสิ่งที่ต้องการได้ ทั้งนี้ ซอฟต์พาวเวอร์ไม่ได้หมายรวมถึงแค่การโปรโมทเชิงวัฒนธรรมเพียงเท่านั้น โดย Josh Nye ผู้ริเริ่มแนวคิดดังกล่าวได้กล่าวถึงที่มาทั้ง 3 แหล่งของซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศ ได้แก่ วัฒนธรรม ค่านิยมทางการเมือง และนโยบายการต่างประเทศ ที่เป็นหัวใจหลักส่งเสริมความสามารถในการโน้มน้าวให้เกิดการยอมรับ ความเชื่อ หรือแม้กระทั่งแรงจูงใจต่างๆ ที่จะนำมาสู่ประโยชน์ของประเทศเจ้าของซอฟต์พาวเวอร์ได้ในที่สุด

จากการจัดอันดับประเทศที่มีซอฟต์พาวเวอร์มากที่สุดในปี 2023 (Global Soft Power Index 2023) โดย Brand Finance พบว่าสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีซอฟต์พาวเวอร์ทรงอิทธิพลมากที่สุด โดยเฉพาะอิทธิพลของวงการหนังฮอลลีวูดหรือแนวคิดเชิงเสรีที่สามารถแทรกซึมได้ในหลายประเทศ สำหรับประเทศไทยแล้วเราอาจเห็นตัวอย่างของซอฟต์พาวเวอร์ที่ชัดเจนได้จากอิทธิพลของประเทศแถบเอเชียตะวันออก โดยเฉพาะประเทศเกาหลีใต้ (อันดับ 15 ของ Global Soft Power Index 2023) ผู้ส่งออกกระแส Hallyu หรือ Korean waves เพื่อโปรโมทวัฒนธรรมเกาหลีและเสริมสร้างภาพลักษณ์ของประเทศในการส่งออกสินค้าและบริการในวงการอาหาร ซีรี่ส์-ภาพยนต์ ดนตรี และเกมออนไลน์ โดยกระแสความนิยมที่เกิดขึ้นประกอบกับการผลักดันผ่านนโยบายสนับสนุนของรัฐบาล ทำให้เกิดผลกระทบเชิงบวกต่อเศรษฐกิจของเกาหลีใต้จนสามารถพัฒนาขึ้นมาเป็นผู้นำของโลกได้ในที่สุดไปพร้อมกับกระแสความนิยมที่ยังคงอยู่อย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากผลการศึกษาของ Korean Foundation for International Cultural Exchange (KOFICE) ที่สรุปว่ากระแสการส่งออก Hallyu ได้สนับสนุนมูลค่าการส่งออกของเกาหลีใต้มากถึง 6.4 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2019

สำหรับประเทศไทยที่อยู่อันดับที่ 41 ของโลกและอันดับที่ 3 ในภูมิภาคอาเซียนในการจัดอันดับ Global Soft Power Index 2023 รองจากสิงคโปร์และมาเลเซีย วัฒนธรรมไทยและภาพลักษณ์ความเป็นไทยค่อนข้างเป็นที่รู้จักในบริบทโลก สังเกตได้จากกระแสความนิยมอาหารไทย มวยไทย ชุดไทย หรือแม้แต่ชุดนักเรียนที่นิยมในหมู่นักท่องเที่ยวชาวจีนเมื่อไม่นานมานี้ ถึงอย่างนั้นกระแสดังกล่าวก็ยังขาดการกระตุ้นจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่เพียงพอ ถึงแม้วัฒนธรรมไทยจะเป็นที่รู้จัก แต่การทำให้กระแสความรู้จักนี้อยู่ต่อไปได้และได้รับการยอมรับจนถึงระดับที่ส่งผลเชิงบวกต่อเศรษฐกิจมหาศาลอาจเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ด้วยการนำร่องนโยบายซอฟต์พาวเวอร์อย่าง 5F (Food, Film, Fashion, Fighting, Festival) ของรัฐบาลชุดก่อนและการจัดตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เราอาจเห็นภาพการส่งออกวัฒนธรรมของประเทศไทยไปยังประเทศต่างๆ อย่างเหมาะสมเพิ่มมากขึ้นในอนาคตก็เป็นได้

ที่มา: Foreign Policy, Brand Finance, KOFICE, Korean Economic Institute (KEI), ASEAN, MGR online, Positioning

การเติบโตของธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทย

วัฒนธรรมความเป็นญี่ปุ่นในสังคมไทยนั้นปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วไปและมีรูปแบบที่มีความหลากหลาย โดยเฉพาะอาหารญี่ปุ่นที่ปรากฏเพิ่มมากขึ้นในสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นอาหารประเภท ข้าวปั้น ปลาดิบ อาหารชุด ปิ้งย่าง หรือชาบูชาบู ฯลฯ ซึ่งอาหารญี่ปุ่นเริ่มเป็นที่นิยมโดยทั่วไปในประเทศไทยมานาน

จากมูลค่าตลาดและการเจริญเติบโตของร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทยที่มีอย่างต่อเนื่อง องค์กรส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น หรือที่รู้จักกันดีในนาม “เจโทร” (Japan External Trade Organization: JETRO) ซึ่งมีบทบาทหน้าที่การกระชับสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุน ระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น รวมถึงช่วยส่งเสริมเผยแพร่อุตสาหกรรมอาหารญี่ปุ่น และให้การสนับสนุนร้านอาหารญี่ปุ่นให้เป็นที่แพร่หลายในทุกภูมิภาคของประเทศไทยได้จัดทำรายงาน “ผลการสำรวจร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทยประจำปี 2566” พบว่า แนวโน้มของจำนวนร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา มีจำนวนร้านอาหารญี่ปุ่นทั้งหมด 5,751 ร้าน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 จากปีที่ผ่านมา โดยมีจำนวนร้านเพิ่มขึ้น 426 ร้าน

แผนภูมิจำนวนร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทย (หน่วย:ร้าน)

Source: JETRO (2023) หมายเหตุ: 5 จังหวัด ปริมณฑล (นครปฐม, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ, สมุทรสงคราม)

จากการเปรียบเทียบข้อมูลปี พ.ศ. 2561 กับ พ.ศ. 2566 พบว่าจำนวนร้านอาหารญี่ปุ่นในกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้น 1.5 เท่า ในขณะที่เขตพื้นที่ปริมณฑลเพิ่มขึ้น 2.2 เท่า และเขตพื้นที่ต่างจังหวัดเพิ่มขึ้น 2.5 เท่า โดยมีจำนวนร้านโดยรวมทั้งหมดเพิ่มขึ้น 1.9 เท่า ซึ่งจากการสัมภาษณ์และสอบถามข้อมูลเชิงลึกจากผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นหลายๆ แห่งโดยเจโทร ได้ให้ความเห็นว่า ร้านอาหารญี่ปุ่นยังคงได้รับความนิยมในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้จะมีอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจบางประการ อาทิเช่น การปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของผู้บริโภค และแนวโน้มที่เปลี่ยนแปลงตลิดเวลาของผู้บริโภคชาวไทย รวมถึงการนำเสนอเมนูอาหารญี่ปุ่นที่เหมาะสมกับผู้บริโภคในแต่ละภูมิภาคในประเทศไทย อย่างไรก็ตามร้านอาหารญี่ปุ่นยังคงเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นในจังหวัดท่องเที่ยว และจังหวัดที่มีประชาการอาศัยอยู่ในพื้นที่มาก

Source: Facebook: Yuzu Suki / BKKMENU.com by BKKMENU Co., Ltd. / Thansettakij

โดยล่าสุด เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ทาง YUZU GROUP จากบริษัท ส้มพาสุข จำกัด เตรียมทุ่มงบประมาณกว่า 20 ล้านบาท เพื่อเปิดร้าน Yuzu Suki (ยูซุ สุกี้) สาขาอารีย์ ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งจะเป็นสาขาลำดับที่ 7 ของแบรนด์ โดยสาขานี้มีขนาดพื้นที่ขนาด 230 ตารางวา และเป็นโมเดล Stand Alone (สแตนด์อโลน) สาขาแรกในประเทศไทย ซึ่งปรมินทร์ เปรื่องเมธางกูร Founder & CEO ให้เหตุผลสนับสนุนการเปิดตัวธุรกิจนี้ว่า ภาพรวมธุรกิจร้านอาหารในปี 2567 มีแนวโน้มที่ส่งสัญญาณที่ดี และมีการเติบโตเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน จำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น

จากภาพรวมข้างต้น ผู้เขียนมีความเห็นเพิ่มเติมว่า ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทย จนทำให้ธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นเติบโตอย่างต่อเนื่อง จะประกอบด้วย คุณภาพจากวัตถุดิบหลักของอาหาร หมายถึง วัตถุดิบมีความสดใหม่ นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้ผู้ประกอบการควรรักษามาตรฐานของวัตถุดิบ และรสชาติให้ดีเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค รวมถึงการให้ความสำคัญเรื่องตำแหน่งที่ตั้งและสถานที่ ร้านที่มีการตกแต่งร้านดูสวยงาม มีสไตล์เป็นของตนเอง และอยู่ในพื้นที่ที่เดินทางไปได้สะดวก องค์ประกอบเหล่านี้จะทำให้ร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทยยังคงได้รับความนิยมต่อทั้งชาวไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติต่อไป

ประเภทขององค์กรธุรกิจในประเทศไทย

องค์กรธุรกิจในประเทศไทยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ (1) นิติบุคคล (จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย) และ (2) ไม่เป็นนิติบุคคล (อาจต้องจดทะเบียนตาม พ.ร.บ. ทะเบียนพาณิชย์)

ภายใต้การจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ยังมีการจัดจำแนกออกเป็น 4 ประเภท

(1) ห้างหุ้นส่วน คือ องค์กรธุรกิจที่มีจำนวนบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปตกลงกันเพื่อดำเนินการธุรกิจ โดยตั้งแต่เริ่มต้นจะต้องมีข้อตกลงเกี่ยวกับการลงทุนร่วมกันในด้านต่าง ๆ เช่น เงิน (ไม่ต้องมีจำนวนเงินขั้นต่ำ), ทรัพย์สิน หรือแรงงาน เพื่อผลิตผลกำไรและการแบ่งปันผลกำไรตามสัดส่วนที่เห็นชอบ ห้างหุ้นส่วนที่เป็นนิติบุคคลจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อยคือ

(1.1) ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน หรือห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล เป็นรูปแบบที่ทุกหุ้นส่วนจะต้องมีการระบุชื่อผู้ถือหุ้นส่วนอย่างชัดเจนและจะถือหุ้นส่วนที่ “ไม่จำกัดความรับผิดชอบ” ซึ่งหมายความว่าผู้ถือหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบในข้อกำหนดของหนี้สินที่เกิดขึ้นโดยไม่มีจำกัดจำนวน ตัวอย่างเช่นถ้าห้างหุ้นส่วนมีหนี้สินจากการดำเนินธุรกิจเกิดขึ้น ผู้ถือหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันในหนี้สินทั้งหมดโดยไม่มีขีดจำกัด

(1.2) ห้างหุ้นส่วนจำกัด ประกอบด้วยหุ้นส่วน 2 ประเภท ได้แก่ หุ้นส่วนประเภท “จำกัดความรับผิดชอบ” โดยที่การลงทุนจะต้องเป็นเงินหรือทรัพย์สินเท่านั้น และผู้ถือหุ้นประเภทนี้จะไม่มีสิทธิ์ในการบริหารงานหรือการตัดสินใจในกิจการ แต่มีสิทธิ์ในการให้ความเห็น สอบถามหรือให้คำปรึกษา และหุ้นส่วนประเภท “ไม่จำกัดความรับผิด” ที่จะต้องรับผิดชอบร่วมกันในหนี้สินทั้งหมด

(2) บริษัทจำกัด คือ องค์กรธุรกิจที่มีอย่างน้อย 2 คนเป็นผู้ถือหุ้น และมีเป้าหมายในการแบ่งปันกำไรจากธุรกิจ มีการแบ่งทุนเป็นหุ้นที่มีมูลค่าเท่า ๆ กัน ผู้ถือหุ้นทุกคนจะถือหุ้นแบบจำกัดความผิด หรือมีความรับผิดชอบที่จำกัดว่าจะไม่เกินจำนวนเงินที่ตนลงทุน

(3) บริษัทมหาชน คือ องค์กรธุรกิจที่ต้องประกอบด้วยผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 15 คนขึ้นไปและมีกรรมการของบริษัทเป็นจำนวนอย่างน้อย 5 คน (ทั้ง 5 ต้องมีทะเบียนที่อยู่ในประเทศไทย) และมีการระบุถึงเจตจำนงที่ต้องขายหุ้นให้กับประชาชนในหนังสือบริคณห์สนธิ ทั้งนี้ ประชาชนผู้ซื้อหุ้นจัดเป็นเจ้าของกิจการตามสัดส่วนของหุ้นที่ถือที่จะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนในรูปของเงินปันผล ประชาชนผู้ถือหุ้นในบริษัทมหาชนมีความรับผิดชอบจำกัดไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชำระ และหากเกิดความเสียหายใด ๆ ต่อบริษัท อาทิ การล้มละลาย ประชาชนผู้ถือหุ้นรับผิดชอบแค่สูญเสียเงินลงทุนเท่านั้น และสามารถขายให้ผู้อื่นได้ตามราคาหุ้นบนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

(4) องค์กรธุรกิจจัดตั้งหรือจดทะเบียนภายใต้กฎหมายเฉพาะ คือการสร้างองค์กรธุรกิจที่จดทะเบียนตามกฎหมายเฉพาะ และจะต้องมีผู้ถือหุ้นจำนวนไม่น้อยกว่า 15 คนขึ้นไป และจำเป็นต้องมีกรรมการของบริษัทอย่างน้อย 5 คน (ทั้ง 5 คนต้องมีทะเบียนที่อยู่ในประเทศไทย) หุ้นในองค์กรต้องมีมูลค่าเท่ากันและต้องชำระเต็มจำนวนในครั้งเดียวเท่านั้น ในทางกลับกัน การจดทะเบียนแบบไม่เป็นนิติบุคคลสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท

(1) กิจการร้านค้าเจ้าของคนเดียว หรือบุคคลธรรมดา คือการดำเนินธุรกิจโดยมีเจ้าของบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของกิจการและรับผลกำไรและขาดทุนจากการลงทุนแต่เพียงคนเดียว ทำให้เจ้าของกิจการต้องรับผิดชอบในหนี้สินทั้งหมดโดยไม่จำกัดจำนวน ในกรณีที่ทรัพย์สินของกิจการไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้ เจ้าหนี้ของกิจการประเภทนี้จะมีสิทธิ์ในการเรียกคืนทรัพย์สินของเจ้าของ

(2) ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียน คือการร่วมกิจการระหว่างบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปโดยต้องมีข้อตกลงเริ่มแรกว่าจะมีการลงทุนร่วมกันในด้านใดบ้าง เช่น เงิน (ไม่ต้องกำหนดจำนวนเงินขั้นต่ำ), ทรัพย์สิน หรือแรงงาน ภายใต้วัตถุประสงค์ในการแบ่งปันกำไร การดำเนินธุรกิจในลักษณะนี้สามารถก่อตั้งได้ง่ายและสามารถแบ่งโอกาสและความเสี่ยงในธุรกิจ แต่หุ้นส่วนทุกคนจะต้องรับผิดชอบในหนี้สินอย่างไม่จำกัดและอาจถูกฟ้องร้องเรื่องหนี้สินรายบุคคลได้

ที่มาของภาพ : Department of Business Development, Ministry of Commerce

ปัญหาการใช้AI ในวงการศิลปะ

ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ในประเทศไทยคงเห็นได้ชัดสำหรับคนที่อยู่ในวงการศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นนักวาด นักเขียน หรือผู้เสพผลงานต่างก็อาจเคยผ่านตากับการนำผลงานไปใช้ต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของผลงาน ทั้งนี้สาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาเหล่านี้ก็คือการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ แต่เมื่อเกิดปัญหาเหล่านี้ขึ้น หากมองในอีกมุมหนึ่งก็เป็นเสมือนกรณีตัวอย่างในการให้ความรู้แก่คนทั่วไปด้วยเช่นกัน ทำให้ในช่วงหลายปีถัดมาก็เริ่มมีกลุ่มคนที่เข้าใจในเรื่องของลิขสิทธิ์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม ในยุคสมัยปัจจุบันที่เริ่มมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาผนวกในชีวิตประจำวันหรือกิจกรรมต่างๆ กลับทำให้ศัตรูที่น่ากลัวอีกอย่างของผู้สร้างสรรค์ผลงานก็คือ AI นั่นเอง

คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการกลับมาของ AI ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม โดย AI ไม่ได้เป็นที่นิยมเฉพาะในกลุ่มผู้ใช้งาน Chatbot หรือผู้พัฒนา Algorithm บน Social Media เท่านั้น ความนิยมในการใช้ AI ยังเห็นได้ชัดในวงการศิลปะเช่นกัน ด้วยการพัฒนาโปรแกรม AI ขึ้นมามากมายของผู้พัฒนาให้ทันกับความนิยมที่กำลังเพิ่มขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมาทำให้ในปัจจุบันเราสามารถเลือกสรรการใช้ AI ได้ในหลายกิจกรรมเลยทีเดียว โดยเฉพาะการสร้างสรรค์ภาพจากแค่การป้อนข้อมูลหรือ Keyword เข้าไปเพียงเท่านั้น ความนิยมในส่วนนี้ก่อให้เกิดเทรนด์ในการนำ AI มาใช้กับงานศิลปะอย่างเห็นได้ชัดเจน

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากแนวคิดหลักของ AI นั้นคือการเป็นสมองกลอัจฉริยะที่สามารถเรียนรู้ชุดข้อมูลที่ผู้พัฒนาป้อนให้และสร้างข้อมูลใหม่ขึ้นมาจากการเรียนรู้นั้น และยังมีจุดที่คล้ายกับสมองของมนุษย์คือเมื่อ AI ได้เรียนรู้จากชุดข้อมูลปริมาณมากขึ้น มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ความรู้ความเข้าใจของ AI และคุณภาพในการสร้างข้อมูลใหม่ก็พัฒนาตามขึ้นไปด้วยอีกเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้ AI อย่างมีคุณภาพมากที่สุด ผู้พัฒนาบางรายก็เลือกใช้ชุดข้อมูลขนาดใหญ่จากอินเตอร์เน็ต โดยปัญหาที่แท้จริงของประเด็นการละเมิดลิขสิทธิ์เริ่มต้นที่จุดนี้ กล่าวคือแหล่งที่มาของชุดข้อมูลขนาดใหญ่เหล่านี้อาจมาจากการรวบรวมผลงานของศิลปินหลายรายที่ไม่ได้ยินยอมให้นำผลงานเหล่านี้ไปใช้ต่อนั่นเอง ผู้วาดบางรายพบว่าภาพวาดของ AI บางงานก็มีลายเส้นที่คล้ายคลึงกับตัวเองมากเหลือเกิน และเมื่อเข้าไปศึกษาว่า AI นี้มีการเรียนรู้จากชุดข้อมูลแหล่งใด ก็ดันพบว่าเป็นแหล่งข้อมูลที่นำผลงานนักวาดมาใช้ต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือเป็นแหล่งข้อมูลที่นักวาดมีการลงผลงานไว้จริงแต่ไม่ได้อนุญาตให้ผู้ใดนำข้อมูลชุดนี้ไปใช้ต่อ พอเริ่มมีปัญหาแบบนี้เกิดขึ้นกับนักวาดหลายราย ก็เริ่มก่อให้เกิดคำถามในสังคมว่าการใช้ AI ในงานศิลปะนี้ถูกกฎหมายด้านลิขสิทธิ์หรือไม่

หากพิจารณาในประเด็นกฎหมายแล้ว การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ (Copyright) ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อปกป้องสิทธิ์ของผู้สร้างผลงานในการนำผลงานไปสร้างใหม่ เผยแพร่ ขาย หรือแจกจ่ายต่อ หากอ้างจากการตีความของผู้พิพากษาศาลแขวง Beryl A. Howell ในสหรัฐอเมริกาในกรณีของการร้องเรียนลิขสิทธิ์ในภาพวาดที่สร้างโดย AI แล้ว การได้มาของลิขสิทธิ์นี้ มนุษย์อาจต้องมีส่วนร่วมด้วยในทางใดทางหนึ่งของกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานดังกล่าว ทั้งนี้ กฎหมายลิขสิทธิ์ในปัจจุบัน ไม่ว่าของสหรัฐอเมริกาหรือของประเทศไทยยังเป็นการบัญญัติในภาพกว้างโดยไม่ครอบคลุมถึงสิทธิ์ของผู้สร้างผลงานที่มีการนำ AI หรือเทคโนโลยีอื่นๆ มาใช้ร่วมด้วย โดยในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีการเปิดเผยกรณีการฟ้องร้องการละเมิดลิขสิทธิ์ของ AI เป็นสาธารณะหรือเป็นทางการทำให้ยังไม่เห็นทิศทางในการตีความในเรื่องดังกล่าวเหมือนอย่างในประเทศสหรัฐอเมริกาที่กล่าวมาข้างต้น

แต่ก็ไม่ใช่ว่าเราจะไม่สามารถเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์จากการนำ AI มาใช้เลยทีเดียว เพราะที่ผ่านมาก็มีอย่างกรณีของศิลปิน Kris Kashtanova ที่สามารถจดลิขสิทธิ์ผลงานของเขาที่ใช้ AI มาช่วยสร้างตัวละครและเนื้อเรื่องสำหรับหนังสือการ์ตูนของเขาได้ อย่างไรก็ตาม กรณีของ Kris นั้นถือว่าเข้าข่ายการตีความของผู้พิพากษา Howell ที่ว่ามนุษย์ต้องมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ผลงานนั้นด้วย เนื่องจาก Kris ใช้ AI ประกอบการทำงานของเขาเพียงเท่านั้น โดยที่เขายังมีการเรียบเรียงและจัดรูปแบบเนื้อหาต่างๆ ด้วยตนเองอยู่

ทั้งนี้ กรณีดังกล่าวเป็นเพียงตัวอย่างของการใช้ AI ในวงการศิลปะเพียงเท่านั้น ในโลกปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นมาอย่างมากมาย อาจมีประเด็นอื่นที่ยังต้องถกเถียงกันเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีมาใช้ในกิจกรรมต่างๆ ซึ่งอาจเป็นเทคโนโลยีอื่นๆ อีกมากมายที่มนุษย์อาจยังไม่สามารถจินตนาการถึงก็เป็นได้ ดังนั้น การตีความกฎหมายใหม่โดยพิจารณาถึงเทคโนโลยีต่างๆ เหล่านี้อาจเป็นสิ่งที่จำเป็นและเร่งด่วนแล้วก็เป็นได้

ที่มา: The Verge, Springnews, Techpolicy, Rainmaker, TNN news, Siamblockchain

ผู้นำในการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าในปี 2023 และ 2030

ช่วงหลายปีที่ผ่านมา หลายๆ ท่านคงเคยได้ยิน ตลาดรถไฟฟ้า หรือ รถอีวี ไม่มากก็น้อย ตลาดรถอีวีมีกระแสแรงอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านยอดขายที่ได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการอุดหนุนด้านภาษี และความคึกคักจากการเข้ามารุกตลาดไทยของแบรนด์ระดับโลกต่อเนื่อง และที่สำคัญไปกว่านั้น ยอดขายรถอีวีทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ทำสถิติสูงสุดต่อเนื่อง แม้เศรษฐกิจโลกเผชิญวิกฤตจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดย (International Energy Agency: IEA) ระบุยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกในปี 2021 อยู่ที่ 6.6 ล้านค้นทั่วโลก ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเกือบ 2เท่า

รถอีวีมีหัวใจสำคัญคือ แบตเตอรี่ ซึ่งมีมูลค่าสูงถึง 40% ของมูลค่าของรถยนต์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ไม่เพียงแค่ให้พลังงานให้กับรถยนต์ไฟฟ้า แต่เป็นสิ่งที่ทำให้การขับขี่ด้วยไฟฟ้าเป็นเรื่องที่เป็นไปได้อีกด้วย การเติบโตของแบตเตอรี่โลหะลิเทียมเริ่มต้นในช่วงต้นของปี 2000 ซึ่งรัฐบาลทั่วโลกได้ออกนโยบายจำกัดการผลิตและใช้งานแบตเตอรรี่ที่ทำจากแร่แคดเมียม (NiCad technology) เพื่อลดผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพจากโลหะหนัก ซึ่งทำให้ผู้ผลิตเทคโนโลยีมาทดแทน เทคโนโลยีนั้นคือ แบตเตอรี่ลิเธียม

ล่าสุดรายงานในปี 2022 ระบุว่าประเทศจีนมีกำลังการผลิตแบตเตอรรี่สูงถึง 893 GWh หรือคิดเป็น 77% ของความต้องการทั่วโลก ซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดของโลก และมีผู้ผลิตลองลงมาคือประเทศ Poland โดยมีกำลังการผลิตแบตเตอรรี่เพียง 73GWh หรือคิดเป็น 6% ของความต้องการทั่วโลก อย่างไรก็ตามใน 2027 รายงานได้ระบุว่าประเทศจีนยังคงเป็นผู้นำในการผลิตแบตเตอรรี่ โดยคาดการณ์ว่ากำลังการผลิตจะเพิ่มขึ้นสูงถึง 6,197 และสามารถผลิตตามความต้องการทั่วโลกได้สูงถึง 69% อีกด้วย

ที่มาของภาพ – EMIS Insights

ผลกระทบการพึ่งพาการนำเข้าอลูมิเนียม (Aluminum) จากประเทศจีนต่อผู้ประกอบการในประเทศไทย

การบริโภคอลูมิเนียมทั่วโลกได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาหลายปีและมีแนวโน้มจะยังคงเพิ่มขึ้นต่อไป จากรายงานของ UOB Industry Insight พบว่า อุตสาหกรรมที่มีความต้องการของการใช้อลูมิเนียมคืออุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมยานอวกาศ ทั้งนี้ความต้องการอลูมิเนียมของทั่วทั้งโลกมีการคาดการณ์ว่าจะเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ถึงร้อยละ 3.8 ต่อปีในช่วงปี 2562-2567 ซึ่งสอดคล้องกับการให้สัมภาษณ์ของประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอลูมิเนียม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยว่า ความต้องการใช้อลูมิเนียมในตลาดโลกปี 2565 คาดว่าจะมีปริมาณ 70 ล้านตัน ส่วนในปี 2567-2568 คาดว่าจะมีความต้องการอลูมิเนียมมากกว่าเดิม เนื่องจากแนวโน้มตลาดด้านรถยนต์ไฟฟ้า, แผงโซลาร์ และกังหันพลังงานลม EV ซึ่งมาจากนโยบายการลดปริมาณคาร์บอนฟุตพรินต์ทั่วโลก

ในส่วนของประเทศผู้ผลิตนั้น จากรายงานของ investingnews พบว่าในปี 2565 ประเทศจีนยังคงเป็นอันดับหนึ่งที่สามารถส่งออกอลูมิเนียมไปยังประเทศอื่นๆ ได้มากที่สุดถึง 40 ล้านเมตริกตัน ตามด้วย อินเดียเป็นอันดับสอง (4.0 ล้านเมตริกตัน) และรัสเซีย (3.7 ล้านเมตริกตัน) ตามลำดับ

ประเทศที่ส่งออกอลูมิเนียมมากที่สุดในปี 2565ปริมาณการส่งออก (หน่วย: ล้านเมตริกตัน)
1.ประเทศจีน40
2.ประเทศอินเดีย4.0
3.ประเทศรัสเซีย3.7
4.ประเทศแคนาดา3.0
5.ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์2.7

โดยประเทศไทยยังคงต้องพึ่งพาการนำเข้าอลูมิเนียมจากจีนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาทิเช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทยมีความจำเป็นต้องใช้วัสดุอลูมิเนียมมาเป็นชิ้นส่วนย่อย เพราะเป็นโลหะทางเลือกใน งานยานยนต์เพื่อประกอบเป็นชิ้นส่วนต่างๆ เช่นขาเหยียบรถปิกอัพ ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคส์ ตัวครีบระบายความร้อนในแอร์ เป็นต้น โดยใน 5 ปีที่ผ่านมา (2560-2565) ประเทศไทยมีอัตราการนำเข้าอลูมิเนียมเติบโตอย่างตัวเนื่อง ปี 2560 (153,808 ตัน) ปี 2561 (205,485 ตัน) ปี 2562 (225,649 ตัน) ปี 2563 (207,697 ตัน) ปี 2564 (271,206 ตัน) และปี 2565 (334,330 ตัน)

แต่ในทางกลับกัน จากตัวเลขการเติบโตของการนำเข้าอลูมิเนียมจากประเทศจีน ทำให้กลุ่มผู้ผลิตอลูมิเนียมของไทยได้รับผลกระทบอย่างมาก ซึ่งภัยคุกคามจากสินค้านำเข้าอลูมิเนียมจากจีนนี้ มีการเพิ่มขึ้นของส่วนแบ่งทางการตลาดอย่างต่อเนื่องภายในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา ตัวอย่างกลยุทธ์การนำเข้าอลูมิเนียมจากจีน คือ การซื้อขายอลูมิเนียมจะมาทั้งชุด มีการกำหนดสเปค (specification) ต้องเป็นสินค้าจากประเทศจีน ผู้รับเหมาต้องจากประเทศจีน ซึ่งแฝงเข้ามาจากสินค้าแบบกึ่งผูกขาดเบ็ดเสร็จ ซึ่งผู้เขียนมีความคิดว่า หน่วยงานภาครัฐควรให้ความสนใจ อาทิเช่น กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ หรือหน่วยงานอื่นๆ ควรพิจารณาเรื่องมาตรการควบคุมราคา มาตรการภาษีนำเข้า หรือแม้กระทั่งมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด( Anti-dumping) ของการนำเข้าอลูมิเนียมจากประเทศจีน เพื่อรักษาสิทธิของผู้ประกอบการในประเทศไทยกับจีน ให้เกิดความเท่าเทียมให้ได้มากที่สุดต่อไป

Source:

https://www.uobgroup.com/web-resources/industry-insights/pdf/th/industrials/aluminium-the-metal-progress.pdf

https://industrialclub.fti.or.th/2022/02/21/%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%99/https://industrialclub.fti.or.th/2022/02/21/%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%99/

https://investingnews.com/daily/resource-investing/industrial-metals-investing/aluminum-investing/aluminum-producing-countries/

https://industrialclub.fti.or.th/2023/03/10/%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81-%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%99/

ติดต่อเรา

  • บริษัท

    เอสบีซีเอส จำกัด (สำนักงานใหญ่)

  • ที่อยู่

    เลขที่ 1 อาคารคิวเฮ้าส์ลุมพินี ชั้น 16 ถนนสาทรใต้
    แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

  • โทรศัพท์

    +66 2 677 7270-5

  • Contact

    ติดต่อเรา

Contact
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
สอบถามทางโทรศัพท์
+66 2 677 7270-5
10th Floor, Q. House Lumpini Building,
No. 1 South Sathorn Road, Tungmahamek, Sathorn, Bangkok 10120, Thailand