การเติบโตของธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทย

วัฒนธรรมความเป็นญี่ปุ่นในสังคมไทยนั้นปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วไปและมีรูปแบบที่มีความหลากหลาย โดยเฉพาะอาหารญี่ปุ่นที่ปรากฏเพิ่มมากขึ้นในสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นอาหารประเภท ข้าวปั้น ปลาดิบ อาหารชุด ปิ้งย่าง หรือชาบูชาบู ฯลฯ ซึ่งอาหารญี่ปุ่นเริ่มเป็นที่นิยมโดยทั่วไปในประเทศไทยมานาน จากมูลค่าตลาดและการเจริญเติบโตของร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทยที่มีอย่างต่อเนื่อง องค์กรส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น หรือที่รู้จักกันดีในนาม “เจโทร” (Japan External Trade Organization: JETRO) ซึ่งมีบทบาทหน้าที่การกระชับสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุน ระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น รวมถึงช่วยส่งเสริมเผยแพร่อุตสาหกรรมอาหารญี่ปุ่น และให้การสนับสนุนร้านอาหารญี่ปุ่นให้เป็นที่แพร่หลายในทุกภูมิภาคของประเทศไทยได้จัดทำรายงาน “ผลการสำรวจร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทยประจำปี 2566” พบว่า แนวโน้มของจำนวนร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา มีจำนวนร้านอาหารญี่ปุ่นทั้งหมด 5,751 ร้าน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 จากปีที่ผ่านมา โดยมีจำนวนร้านเพิ่มขึ้น 426 ร้าน แผนภูมิจำนวนร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทย (หน่วย:ร้าน) จากการเปรียบเทียบข้อมูลปี พ.ศ. 2561 กับ พ.ศ. 2566 พบว่าจำนวนร้านอาหารญี่ปุ่นในกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้น 1.5 เท่า ในขณะที่เขตพื้นที่ปริมณฑลเพิ่มขึ้น 2.2 เท่า และเขตพื้นที่ต่างจังหวัดเพิ่มขึ้น… Continue reading การเติบโตของธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทย

ประเภทขององค์กรธุรกิจในประเทศไทย

องค์กรธุรกิจในประเทศไทยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ (1) นิติบุคคล (จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย) และ (2) ไม่เป็นนิติบุคคล (อาจต้องจดทะเบียนตาม พ.ร.บ. ทะเบียนพาณิชย์) ภายใต้การจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ยังมีการจัดจำแนกออกเป็น 4 ประเภท (1) ห้างหุ้นส่วน คือ องค์กรธุรกิจที่มีจำนวนบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปตกลงกันเพื่อดำเนินการธุรกิจ โดยตั้งแต่เริ่มต้นจะต้องมีข้อตกลงเกี่ยวกับการลงทุนร่วมกันในด้านต่าง ๆ เช่น เงิน (ไม่ต้องมีจำนวนเงินขั้นต่ำ), ทรัพย์สิน หรือแรงงาน เพื่อผลิตผลกำไรและการแบ่งปันผลกำไรตามสัดส่วนที่เห็นชอบ ห้างหุ้นส่วนที่เป็นนิติบุคคลจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อยคือ (1.1) ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน หรือห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล เป็นรูปแบบที่ทุกหุ้นส่วนจะต้องมีการระบุชื่อผู้ถือหุ้นส่วนอย่างชัดเจนและจะถือหุ้นส่วนที่ “ไม่จำกัดความรับผิดชอบ” ซึ่งหมายความว่าผู้ถือหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบในข้อกำหนดของหนี้สินที่เกิดขึ้นโดยไม่มีจำกัดจำนวน ตัวอย่างเช่นถ้าห้างหุ้นส่วนมีหนี้สินจากการดำเนินธุรกิจเกิดขึ้น ผู้ถือหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันในหนี้สินทั้งหมดโดยไม่มีขีดจำกัด (1.2) ห้างหุ้นส่วนจำกัด ประกอบด้วยหุ้นส่วน 2 ประเภท ได้แก่ หุ้นส่วนประเภท “จำกัดความรับผิดชอบ” โดยที่การลงทุนจะต้องเป็นเงินหรือทรัพย์สินเท่านั้น และผู้ถือหุ้นประเภทนี้จะไม่มีสิทธิ์ในการบริหารงานหรือการตัดสินใจในกิจการ แต่มีสิทธิ์ในการให้ความเห็น สอบถามหรือให้คำปรึกษา และหุ้นส่วนประเภท… Continue reading ประเภทขององค์กรธุรกิจในประเทศไทย

ปัญหาการใช้AI ในวงการศิลปะ

ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ในประเทศไทยคงเห็นได้ชัดสำหรับคนที่อยู่ในวงการศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นนักวาด นักเขียน หรือผู้เสพผลงานต่างก็อาจเคยผ่านตากับการนำผลงานไปใช้ต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของผลงาน ทั้งนี้สาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาเหล่านี้ก็คือการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ แต่เมื่อเกิดปัญหาเหล่านี้ขึ้น หากมองในอีกมุมหนึ่งก็เป็นเสมือนกรณีตัวอย่างในการให้ความรู้แก่คนทั่วไปด้วยเช่นกัน ทำให้ในช่วงหลายปีถัดมาก็เริ่มมีกลุ่มคนที่เข้าใจในเรื่องของลิขสิทธิ์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม ในยุคสมัยปัจจุบันที่เริ่มมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาผนวกในชีวิตประจำวันหรือกิจกรรมต่างๆ กลับทำให้ศัตรูที่น่ากลัวอีกอย่างของผู้สร้างสรรค์ผลงานก็คือ AI นั่นเอง คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการกลับมาของ AI ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม โดย AI ไม่ได้เป็นที่นิยมเฉพาะในกลุ่มผู้ใช้งาน Chatbot หรือผู้พัฒนา Algorithm บน Social Media เท่านั้น ความนิยมในการใช้ AI ยังเห็นได้ชัดในวงการศิลปะเช่นกัน ด้วยการพัฒนาโปรแกรม AI ขึ้นมามากมายของผู้พัฒนาให้ทันกับความนิยมที่กำลังเพิ่มขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมาทำให้ในปัจจุบันเราสามารถเลือกสรรการใช้ AI ได้ในหลายกิจกรรมเลยทีเดียว โดยเฉพาะการสร้างสรรค์ภาพจากแค่การป้อนข้อมูลหรือ Keyword เข้าไปเพียงเท่านั้น ความนิยมในส่วนนี้ก่อให้เกิดเทรนด์ในการนำ AI มาใช้กับงานศิลปะอย่างเห็นได้ชัดเจน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากแนวคิดหลักของ AI นั้นคือการเป็นสมองกลอัจฉริยะที่สามารถเรียนรู้ชุดข้อมูลที่ผู้พัฒนาป้อนให้และสร้างข้อมูลใหม่ขึ้นมาจากการเรียนรู้นั้น และยังมีจุดที่คล้ายกับสมองของมนุษย์คือเมื่อ AI ได้เรียนรู้จากชุดข้อมูลปริมาณมากขึ้น มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ความรู้ความเข้าใจของ AI และคุณภาพในการสร้างข้อมูลใหม่ก็พัฒนาตามขึ้นไปด้วยอีกเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้ AI อย่างมีคุณภาพมากที่สุด… Continue reading ปัญหาการใช้AI ในวงการศิลปะ

ผู้นำในการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าในปี 2023 และ 2030

ช่วงหลายปีที่ผ่านมา หลายๆ ท่านคงเคยได้ยิน ตลาดรถไฟฟ้า หรือ รถอีวี ไม่มากก็น้อย ตลาดรถอีวีมีกระแสแรงอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านยอดขายที่ได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการอุดหนุนด้านภาษี และความคึกคักจากการเข้ามารุกตลาดไทยของแบรนด์ระดับโลกต่อเนื่อง และที่สำคัญไปกว่านั้น ยอดขายรถอีวีทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ทำสถิติสูงสุดต่อเนื่อง แม้เศรษฐกิจโลกเผชิญวิกฤตจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดย (International Energy Agency: IEA) ระบุยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกในปี 2021 อยู่ที่ 6.6 ล้านค้นทั่วโลก ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเกือบ 2เท่า รถอีวีมีหัวใจสำคัญคือ แบตเตอรี่ ซึ่งมีมูลค่าสูงถึง 40% ของมูลค่าของรถยนต์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ไม่เพียงแค่ให้พลังงานให้กับรถยนต์ไฟฟ้า แต่เป็นสิ่งที่ทำให้การขับขี่ด้วยไฟฟ้าเป็นเรื่องที่เป็นไปได้อีกด้วย การเติบโตของแบตเตอรี่โลหะลิเทียมเริ่มต้นในช่วงต้นของปี 2000 ซึ่งรัฐบาลทั่วโลกได้ออกนโยบายจำกัดการผลิตและใช้งานแบตเตอรรี่ที่ทำจากแร่แคดเมียม (NiCad technology) เพื่อลดผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพจากโลหะหนัก ซึ่งทำให้ผู้ผลิตเทคโนโลยีมาทดแทน เทคโนโลยีนั้นคือ แบตเตอรี่ลิเธียม ล่าสุดรายงานในปี 2022 ระบุว่าประเทศจีนมีกำลังการผลิตแบตเตอรรี่สูงถึง 893 GWh หรือคิดเป็น 77% ของความต้องการทั่วโลก ซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดของโลก และมีผู้ผลิตลองลงมาคือประเทศ Poland โดยมีกำลังการผลิตแบตเตอรรี่เพียง… Continue reading ผู้นำในการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าในปี 2023 และ 2030

ผลกระทบการพึ่งพาการนำเข้าอลูมิเนียม (Aluminum) จากประเทศจีนต่อผู้ประกอบการในประเทศไทย

การบริโภคอลูมิเนียมทั่วโลกได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาหลายปีและมีแนวโน้มจะยังคงเพิ่มขึ้นต่อไป จากรายงานของ UOB Industry Insight พบว่า อุตสาหกรรมที่มีความต้องการของการใช้อลูมิเนียมคืออุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมยานอวกาศ ทั้งนี้ความต้องการอลูมิเนียมของทั่วทั้งโลกมีการคาดการณ์ว่าจะเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ถึงร้อยละ 3.8 ต่อปีในช่วงปี 2562-2567 ซึ่งสอดคล้องกับการให้สัมภาษณ์ของประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอลูมิเนียม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยว่า ความต้องการใช้อลูมิเนียมในตลาดโลกปี 2565 คาดว่าจะมีปริมาณ 70 ล้านตัน ส่วนในปี 2567-2568 คาดว่าจะมีความต้องการอลูมิเนียมมากกว่าเดิม เนื่องจากแนวโน้มตลาดด้านรถยนต์ไฟฟ้า, แผงโซลาร์ และกังหันพลังงานลม EV ซึ่งมาจากนโยบายการลดปริมาณคาร์บอนฟุตพรินต์ทั่วโลก ในส่วนของประเทศผู้ผลิตนั้น จากรายงานของ investingnews พบว่าในปี 2565 ประเทศจีนยังคงเป็นอันดับหนึ่งที่สามารถส่งออกอลูมิเนียมไปยังประเทศอื่นๆ ได้มากที่สุดถึง 40 ล้านเมตริกตัน ตามด้วย อินเดียเป็นอันดับสอง (4.0 ล้านเมตริกตัน) และรัสเซีย (3.7 ล้านเมตริกตัน) ตามลำดับ ประเทศที่ส่งออกอลูมิเนียมมากที่สุดในปี 2565 ปริมาณการส่งออก (หน่วย: ล้านเมตริกตัน) 1.ประเทศจีน 40 2.ประเทศอินเดีย 4.0… Continue reading ผลกระทบการพึ่งพาการนำเข้าอลูมิเนียม (Aluminum) จากประเทศจีนต่อผู้ประกอบการในประเทศไทย

เทคโนโลยีโลกเสมือนและความนิยมที่อาจกลับมาอีกครั้งหนึ่งในอนาคต

เมื่อนึกถึงเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับโลกเสมือน หลายคนอาจนึกถึงแว่นตา VR (VR Headset) ที่มักพบเห็นการใช้งานในวงการเกมเป็นส่วนใหญ่ แต่แท้จริงแล้วเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับโลกเสมือนไม่ได้มีเพียง VR เท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องถึงเทคโนโลยีอื่นๆ อย่าง AR MR XR หรือแม้แต่ Metaverse อีกต่างหาก โดยสรุปแล้วเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับโลกเสมือน ได้แก่ ทั้ง 3 เทคโนโลยีสามารถเรียกโดยรวมได้ว่าเทคโนโลยี ‘Extended Reality (XR)’ ทั้งนี้ เทคโนโลยีที่กล่าวมาข้างต้นยังมีความเกี่ยวข้องกับคาว่า ‘เมตาเวิร์ส (Metaverse)’ หรือ ‘จักรวาลนฤมิตร’ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสร้างโลกเสมือนขึ้นเพื่อรองรับการทากิจกรรมร่วมกันแบบ real time ผ่านตัวอวตาร (Avatar) ที่นามาใช้แทนตัวเราในการทากิจกรรม โดยเมตาเวิร์สได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงเกือบ 3 ปีที่ผ่านมาและยังถูกจัดให้อยู่ลาดับที่ 9 จาก 10 เทรนด์เทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์แห่งปี 2023 (Top 10 Strategic Technology Trends for 2023) โดยบริษัทวิจัยและให้คาปรึกษาทางเทคโนโลยีชั้นนาอย่าง Gartner อย่างไรก็ตาม… Continue reading เทคโนโลยีโลกเสมือนและความนิยมที่อาจกลับมาอีกครั้งหนึ่งในอนาคต

“Nostalgia Marketing” กลยุทธ์การตลาดวันวานไม่เคยเก่า

อะไรคือการตลาด Nostalgia marketing กลยุทธ์การตลาด Nostalgia marketing คือ กลยุทธ์ที่อาศัยวิธีการเข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มต่าง ๆ ผ่านการสร้างความรู้สึกคิดถึงหรือโหยหาอดีตตามความหมายตรงตัวของคำว่า “Nostalgia” ที่หมายความว่าความรู้สึกคิดถึงหรือโหยหาอดีต โดยการทำการตลาดดังกล่าวนั้นได้รับความนิยมจากความสามารถที่จะเชื่อมโยงสินค้าหรือบริการของผู้ผลิตกับผู้บริโภค และเข้าถึงความรู้สึกที่ซ่อนอยู่ใน หัวใจของผู้บริโภคได้อย่างลึกซึ้ง การตลาด Nostalgia marketing มีประสิทธิภาพอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการในอุตสาหกรรมใด ๆ ความต้องการจากผู้บริโภคนั้นย่อมเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อที่จะทำให้สินค้าและบริการนั้นอยู่รอดท่ามการการแข่งขันที่ไม่เคยหยุดนิ่ง หากแต่ความต้องการดังกล่าว ยังต้องไม่เป็นเพียงความต้องการที่ฉาบฉวยแต่ต้องเกิดจากการได้รับรู้สารและเข้าใจถึงสินค้าหรือบริการอย่างมีประสิทธิภาพ สินค้าหรือบริการเข้าไปอยู่ในความทรงจำของผู้บริโภค ทำให้เกิดความประทับใจหลังการบริโภคสินค้าหรือใช้บริการ สามารถอยู่ในความทรงจำของผู้บริโภคและทำให้ผู้บริโภคเลือกที่จะกลับมาใช้สินค้าหรือบริการอยู่เรื่อยๆ ซึ่งการตลาด Nostalgia marketing นั้น นับเป็นอีกหนึ่งเทคนิค ทางการตลาดที่จะสามารถผลักดันให้สินค้าหรือบริการเข้าไปอยู่ในความทรงจำของผู้บริโภคได้โดยเร็ว ผ่านการอาศัยจุดเชื่อมโยงในความทรงจำที่เมื่อผู้บริโภคพบเห็น หรือได้เห็นหรือยินบางอย่างในการนำเสนอแล้วรู้สึกคิดถึงความทรงจำของตนในช่วงเวลาในอดีต และรู้สึกสนิทใจกับสินค้าหรือบริการที่ได้พบเห็นนั้นไปโดยปริยาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้เพลงที่เคยโด่งดังในอดีตมาประกอบการนำเสนอสินค้าหรือบริการ หรือการคอลแลปกับคาแรคเตอร์ชื่อดังในอดีตเพื่อสร้างความสนิทสนมเหมือนเป็นเพื่อนรู้ใจของผู้บริโภคในช่วงอายุนั้น ๆ หรือแม้แต่รายละเอียดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นตำพูด โทนสี ฟ้อนตัวหนังสือ หรือบรรยากาศในการนำเสนอ อย่างไรก็ดี อีกหนึ่งสิ่งที่ไม่ครพลาดในการทำการตลาด Nostalgia marketing อย่างมีประสิทธิภาพ คือผู้ผลิตสินค้าหรือบริการจำต้องสามารถระบุช่วงอายุของกลุ่มผู้บริโภคในเป้าหมายได้อย่างชัดเจน เพื่อที่จะเลือกสรรค์องค์ประกอบที่จะใส่ในการนำเสนอให้สอดคล้องไปกับความทรงจำในอดีตของแต่ละกลุ่มผู้บริโภคในแต่ะช่วงวัย ตัวอย่างสินค้าที่มีการทำการตลาด Nostalgia marketing… Continue reading “Nostalgia Marketing” กลยุทธ์การตลาดวันวานไม่เคยเก่า

CBAM: ต้นทุนทางสิ่งแวดล้อม หรือ และ โอกาสของธุรกิจสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

เราอาจคุ้นเคยกับภาพกาตูนย์แนวนี้ หรือ คุ้นชินกับคากล่าวเชิงรับผิดชอบต่อสังคมของภาคเอกชนที่ว่า “ต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมไม่ควรถูกซ่อนเร้น” หรือ “ปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเป็นจุดเปลี่ยนสาคัญในเวทีการค้าโลก” …. หลังจากเดือนตุลาคม 2023 นี้ สิ่งเหล่านี้อาจไม่ใช่แค่ความคุ้นอีกต่อไปหากแต่จะกลายเป็นสิ่งที่เป็นรูปธรรมมีแนวทางปฏิบัติชัดเจนผ่านมาตรการของสหภาพยุโรป ซึ่งจะเริ่มดาเนินการเพื่อเข้าสู่มาตรการจัดเก็บภาษีก๊าซเรือนกระจกสาหรับสินค้านาเข้าก่อนข้ามพรมแดน CBAM หรือกลไกการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป (Carbon Border Adjustment Mechanism) เกิดขึ้นหลังจากที่สหภาพยุโรปใช้มาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและสร้างตลาดแลกเปลี่ยนก๊าซเรือนกระจก ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสินค้าภายในสหภาพยุโรปสูงขึ้น ผู้ประกอบการบางรายเห็นช่องทางการลดต้นทุนจึงย้ายฐานการผลิตออกไปยังประเทศอื่นนอกสหภาพยุโรปที่มีกฎระเบียบด้านการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่เข้มงวดน้อยกว่า (carbon leakage) แล้วส่งสินค้ากลับเข้ามาขายในสหภาพยุโรป ซึ่งผู้บริโภคก็เลือกที่จะซื้อสินค้านาเข้าเหล่านั้นเพราะมีราคาที่ถูกกว่า คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) จึงมีแนวคิดที่จะจัดเก็บภาษี CBAM เพื่อให้สินค้าที่นาเข้ามาในสหภาพยุโรปต้องถูกคิดรวมต้นทุนที่เกิดจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนในกระบวนการผลิตอย่างเท่าเทียมกับสินค้าที่ผลิตในสหภาพยุโรป ทั้งนี้เพื่อรักษาการค้าที่เป็นธรรมรวมถึงเพื่อกระตุ้นให้นานาประเทศมีความพยายามในการลดการใช้ก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจังมากขึ้น โดยเมื่อเดือนเมษายน 2023 ที่ผ่านมา รัฐสภายุโรป (the European Parliament) มีมติเห็นชอบให้ CBAM เป็นส่วนหนึ่งของการยกระดับมาตรการด้านสภาพภูมิอากาศซึ่งจะถูกบังคับใช้แบบเต็มรูปแบบในปี 2026 โดยกาหนดให้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2023 – 31 ธันวาคม 2025 เป็นระยะเปลี่ยนผ่าน (transition period) ซึ่งครอบคลุมถึงการให้ผู้นาเข้าสินค้าในสหภาพยุโรปบันทึกและแจ้งปริมาณคาร์บอนจากการผลิตสินค้านาเข้า… Continue reading CBAM: ต้นทุนทางสิ่งแวดล้อม หรือ และ โอกาสของธุรกิจสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

นักลงทุน/ผู้ร่วมทุนมองหาอะไรพิจารณา ก่อนร่วมลงทุนในสตาร์ทอัพ

ช่วงหลายปีที่ผ่านมา หลายๆ ท่านคงเคยได้ยินคำว่า “สตาร์ทอัพ” ไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะในหมู่คนรุ่นใหม่ที่ใครๆ ก็อยากเป็นสตาร์ทอัพ เพราะมันสะท้อนถึงความเป็นคนรุ่นใหม่ที่รักความท้าทาย และพร้อมที่จะเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยจุดเริ่มต้นของสตาร์ทอัพส่วนใหญ่มักเกิดจากการปรับใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหา หรือเติมเต็มช่องว่างทางโอกาสที่ยังไม่มีใครเคยเห็น การที่สตาร์ทอัพจะอยู่รอดและเติบโตบนโลกได้นั้น จะต้องมีแหล่งเงินทุนที่ดีและผู้ร่วมลงทุนที่มีวิสัยทัศน์ พร้อมนำพาสตาร์ทอัพไปสู่ความยั่งยืนที่แท้จริง และในบทความนี้ เราจะมาพูดถึงปัจจัยที่ผู้ร่วมทุนมักใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาก่อนตัดสินใจลงทุนกับสตาร์ทอัพ 1. ทีมผู้ก่อตั้งและทีมงาน: นักลงทุน/ผู้ร่วมทุนให้ความสำคัญกับทีมผู้ก่อตั้งและสมาชิกทีมงานสำคัญอื่นๆ เป็นอย่างมาก ทั้งด้านความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และความสามารถในการทำงานร่วมกันของทีม เพราะจะส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจ การมีทีมงานที่แข็งแกร่งและสมดุลทางทักษะเป็นสิ่งที่นักลงทุนต้องการเห็น 2. โอกาสทางตลาด: การมีโอกาสในตลาดที่กว้างขว้างและมีศักยภาพในการเติบโตเป็นสิ่งที่นักลงทุนสนใจ ความเข้าใจในตลาดเป้าหมายและการแก้ไขปัญหาที่มีอยู่จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนว่าสตาร์ทอัพของคุณจะสามารถก้าวข้ามขีดจำกัดและขยายตัวในตลาดได้ 3. ความแตกต่างในสินค้าหรือบริการ: นักลงทุนสนใจในคุณค่าที่แตกต่างและแก้ไขปัญหาหรือตอบสนองความต้องการของตลาดได้อย่างโดดเด่น ความแตกต่างที่แข็งแกร่งแสดงถึงความสามารถในการแข่งขันและศักยภาพในการได้รับความนิยมในตลาด 4. แบบจำลองธุรกิจและกลยุทธ์การสร้างรายได้: นักลงทุนตรวจสอบแบบจำลองธุรกิจของสตาร์ทอัพและวิธีการสร้างรายได้และทำให้ได้กำไร พวกเขาประเมินความสามารถในการขยายมิติธุรกิจและความยั่งยืนของแบบจำลองธุรกิจว่ามันสอดคล้องกับแนวโน้มตลาดและพฤติกรรมของลูกค้าหรือไม่ ทางเลือกทางธุรกิจที่ชัดเจนและเหมาะสมก็นับเป็นสิ่งที่ผู้ลงทุนมักจับตามองอีกเช่นเดียวกัน ที่มาของภาพ – istockphoto

งบประมาณฐานศูนย์ (Zero-Based Budgeting) กับการจัดระเบียบทางการเงินของภาครัฐ และภาคเอกชน

งบประมาณฐานศูนย์ หรือ Zero-Based Budgeting (ZBB) คืออะไร งบประมาณฐานศูนย์เป็นระบบการจัดทำงบประมาณที่ถูกพัฒนาโดย ปีเตอร์ เพียร์ (Peter Pyhrr) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 (พ.ศ. 2513) จนประสบความสำเร็จ งบประมาณฐานศูนย์ คือการจัดทำงบประมาณโดยคำนึงถึงความจำเป็น และความเหมาะสมของสถานการณ์ในช่วงเวลานั้น โดยไม่คำนึงถึงงบประมาณที่เคยได้จากปีก่อน โดยระบบนี้ จะตั้งคำถาม 3 เรื่อง คือ 1) ความจำเป็นของโครงการ ในปีงบประมาณต่อไป ยังมีความจำเป็นอยู่หรือไม่ 2) งบประมาณที่เขียนขอมา สูงเกินความจริงหรือไม่ และ 3) ผลลัพธ์ที่ผ่านมาของโครงการ เป็นอย่างไร สำเร็จมากน้อยขนาดไหน การประยุกต์ใช้ งบประมาณฐานศูนย์ ของภาครัฐบาล ทีมบริหารงานกรุงเทพมหานคร ภายใต้การนำทีมของ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ได้เตรียมปรับใช้งบประมาณฐานศูนย์ตาม 214 นโยบายชัชชาติ เพื่อความยืดหยุ่น คุ้มค่า มีประสิทธิภาพ สอดรับกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน โดยคาดว่าประชาชนจะได้ประโยชน์สูงสุดจากการใช้ใช้งบประมาณฐานศูนย์ เพื่อแก้ปัญหาการจัดสรรงบประมาณเก่าที่ขาดความชัดเจนและโปร่งใส… Continue reading งบประมาณฐานศูนย์ (Zero-Based Budgeting) กับการจัดระเบียบทางการเงินของภาครัฐ และภาคเอกชน

Contact
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
สอบถามทางโทรศัพท์
+66 2 677 7270-5
10th Floor, Q. House Lumpini Building,
No. 1 South Sathorn Road, Tungmahamek, Sathorn, Bangkok 10120, Thailand