เข้าใจ AI และกระแสการนิยม AI อีกครั้งหนึ่งที่เกิดขึ้นจาก ChatGPT

หลังจากกระแสของ AI Chatbot อย่าง ChatGPT พัฒนาโดย OpenAI ที่เปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้วด้วยความสามารถในการโต้ตอบกับผู้ใช้งานอย่างราบรื่นเหนือระบบ AI อื่นๆ ที่ให้บริการในขณะนั้น ก่อให้เกิดกระแสการพูดถึงเทคโนโลยี AI รวมไปถึงการพัฒนา AI Chatbot ใหม่ๆ ของบริษัทเทคโนโลยีรายอื่นตามมาในช่วงต้นปีนี้ โดยหลายคนอาจมีข้อสงสัยว่าทำไม AI ถึงกลับมาอยู่ในความสนใจอีกครั้งในเมื่อเราก็ค่อนข้างคุ้นเคยกับคำว่า AI และการใช้งานมาร่วมหลายปีแล้ว โดยเฉพาะในช่วงการระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้บางคนอาจต้องมีประสบการณ์ใช้ระบบ AI ผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการซื้อของออนไลน์ การติดต่อสายการบิน หรือแม้แต่การใช้แอปพลิเคชันเปลี่ยนใบหน้าด้วยระบบ AI ที่เป็นกระแสอยู่พักหนึ่ง ซึ่งยิ่งตอกย้ำให้เราเห็นว่า AI ไม่ใช่เรื่องใหม่เลย ทั้งนี้ ก่อนที่จะเริ่มหาคำตอบว่าทำไม AI ถึงกลับมาเป็นกระแสอีกครั้งได้มากถึงเพียงนี้ เราควรศึกษาความหมายและลักษณะของ AI ให้เข้าใจกันเสียก่อน ระบบ AI (Artificial Intelligence) หรือ “ปัญญาประดิษฐ์” เป็นเทคโนโลยีที่นำระบบคอมพิวเตอร์มาเรียนรู้ชุดข้อมูลต่างๆ เพื่อแก้ปัญหา วิเคราะห์ สื่อสาร คาดการณ์ในสถานการณ์ต่างๆ หรือแม้แต่การทำงานอื่นๆ ที่เปรียบได้กับความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการตัดสินใจของมนุษย์… Continue reading เข้าใจ AI และกระแสการนิยม AI อีกครั้งหนึ่งที่เกิดขึ้นจาก ChatGPT

“April Fool’s Day Marketing” กลยุทธ์การตลาดวัน April Fool’s ที่ไม่ได้สร้างเพียงเสียงหัวเราะ

วัน April Fool’s หรือที่สามารถแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า วันเมษาหน้าโง่ ตรงกับวันที่ 1 เมษายนของทุก ๆ ปีนั้นนับเป็นหนึ่งในวันพิเศษที่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในทั่วทุกมุมโลก โดยวัน April Fool’s มีที่มาจากการประกาศเปลี่ยนแปลงวันปีใหม่ของศาสนาคริสต์ในช่วงยุคศตวรรษที่ 16  ณ ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเดิมทีคือวันที่ 1 เมษายนให้เป็นวันที่ 1 มกราคม หากแต่การประกาศเปลี่ยนแปลงดังกล่าวถูกกระจายอยู่ภายในกลุ่มคนเมืองและไปไม่ถึงกลุ่มคนในชานเมือง จนทำให้เกิดการโกหกเพื่อหยอกล้อความไม่รู้ทันการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวระหว่างผู้คนบางกลุ่ม แล้วจึงค่อยมาเฉลยกับกลุ่มคนเหล่านั้นว่ามีการเปลี่ยนแปลงวันปีใหม่ไปแล้ว สืบเนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าว ในปัจจุบันวัน April Fool’s นั้นเป็นที่รู้จักในฐานะของวันพิเศษที่ผู้คนสามารถแสดงความขี้เล่นผ่านการโกหกและหยอกล้อกันอย่างมีสีสัน แล้วค่อยทำการเฉลยในตอนท้าย โดยมีกฎเกณฑ์ที่รู้กันโดยสากลว่าต้องอยู่ภายในขอบเขตของการไม่สร้างความเดือดร้อนหรือทำร้ายผู้อื่น อะไรคือการตลาดวัน April Fool’s และเหตุใดแบรนด์ต่าง ๆ จึงหันมาทำการตลาดวัน April Fool’s ? การตลาดวัน April Fool’s คือการที่แบรนด์ต่าง ๆ มักออกมาเปิดตัวสินค้าในวันที่ 1 เมษายน โดยสินค้าดังกล่าวมักมีความแปลกใหม่หรือไม่น่าเชื่อจนทำให้สร้างเสียงหัวเราะและความประหลาดใจท่ามกลางสื่อโซเชียลมีเดีย และออกมาเฉลยในภายหลังว่าสินค้านั้นเป็นส่วนหนึ่งของวัน April Fool’s เพียงเท่านั้นและจะไม่มีการผลิตจริง อาทิ… Continue reading “April Fool’s Day Marketing” กลยุทธ์การตลาดวัน April Fool’s ที่ไม่ได้สร้างเพียงเสียงหัวเราะ

จากกำไรสู่จุดมุ่งหมาย: วิถีการเปลี่ยนแปลงธุรกิจด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) คือกรอบการพัฒนาภายใต้เป้าหมาย 17 ประการ โดย 193 ประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยตกลงดำเนินการร่วมกันเพื่อบรรลุการพัฒนาคน การพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนภายในปี ค.ศ. 2030 ถึงแม้ว่าเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนนี้ จะถูกสร้างขึ้นเพื่อนำทางรัฐบาลและองค์กรทางสังคมในการดำเนินการเป็นหลัก แต่ในสถานการณ์จริงแล้วธุรกิจมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อน SDGs เป็นอย่างมาก เนื่องจากกิจกรรมทางตรงของธุรกิจสามารถสร้างคน สร้างงาน ส่งเสริมนวัตกรรม และลงทุนในการวิจัยพัฒนาวิธีการที่ยั่งยืนที่สามารถช่วยในการจัดการกับภัยคุกคามที่เกี่ยวข้องกับโลกของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราสามารถเริ่มดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างไร? 1. เข้าใจเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน:ธุรกิจจำเป็นต้องมีความเข้าใจอย่างชัดเจนเกี่ยวกับเป้าหมายทั้ง 17 ประการของการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ความเข้าใจนี้เป็นพื้นฐานสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถระบุเป้าหมายและวิธีการที่สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจ 2. ดำเนินการประเมินความสำคัญของปัญหาและระบุ SDGs Goals:ธุรกิจควรดำเนินการประเมินความสำคัญของปัญหาทางสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและระบุว่า SDGs Goals ใดมีผลกระทบต่อธุรกิจและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของธุรกิจมากที่สุด โดยธุรกิจสามารถประเมินและกำหนดลำดับความสำคัญตามขอบข่ายที่มีผลกระทบสูงสุดก่อน 3. กำหนดเป้าหมายและพัฒนาแผนงาน: เมื่อเข้าใจปัญหาของธุรกิจและประเมินลำดับความสำคัญของการพัฒนาเพื่อบรรลุเป้าหมายตาม SDGs แล้ว ธุรกิจสามารถกำหนดเป้าหมายและพัฒนาแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้นอย่างเฉพาะเจาะจง แผนการดำเนินการครอบคลุมถึงการกำหนดวิธีการ กรอบเวลาและผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน 4. สร้างความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย: ในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย SDGs นั้น… Continue reading จากกำไรสู่จุดมุ่งหมาย: วิถีการเปลี่ยนแปลงธุรกิจด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

เจาะเทรนด์การตลาด “ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง” หรือ “Buy Now Pay Later” ที่กำลังเติบโตในประเทศไทย

Buy Now Pay Later (BNPL) คืออะไร การซื้อก่อนจ่ายทีหลัง หรือ Buy Now Pay Later (BNPL) คือ รูปแบบการชำระเงินที่ผู้บริโภคจะได้รับสินค้าหรือบริการก่อน แล้วค่อยจ่ายเงินค่าสินค้าหรือบริการในภายหลัง ซึ่งการชำระเงินสามารถเลือกแบ่งชำระได้ตั้งแต่ 1 เดือน ถึง 4 เดือน (มากกว่านั้นจะขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ)  และถ้าเป็นการชำระเงินแบบครั้งเดียวจากการใช้บริการแบบ BNPL จะไม่เสียดอกเบี้ยอีกด้วย ธุรกิจ Buy Now Pay Later (BNPL) เติบโตในประเทศไทย และในตลาดทั่วโลก ประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้นำด้านดิจิทัล เพย์เมนต์ (Digital Payment) ของโลก ซึ่งจากข้อมูลของ ACI Worldwide ระบุว่า ในปี 2021 ประเทศไทนมีปริมาณการทําธุรกรรมการชําระเงินแบบเรียลไทม์ (Real-time payment transactions) ประมาณ 9.7 พันล้านครั้ง มากที่สุดเป็น อันดับ 3… Continue reading เจาะเทรนด์การตลาด “ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง” หรือ “Buy Now Pay Later” ที่กำลังเติบโตในประเทศไทย

ทำไมเซมิคอนดักเตอร์ถืงขาดตลาด และทำไมเราต้องสนใจ

เป็นที่รู้กันดีว่าในช่วงสองปีที่ผ่านมา ทั่วโลกนั้นประสบปัญหาเซมิคอนดักเตอร์ขาดแคลนเป็นอย่างหนัก ซึ่งสร้างผลกระทบอย่างรุนแรงกับอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นวงกว้าง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเทคโนโลยีกับกลุ่มผู้บริโภคที่ต้องประสบปัญหาสินค้าขาดตลาดและของมีราคาแพงขึ้น สรุปแล้วเรื่องทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร และอุตสาหกรรมไหนได้ผลกระทบนี้มากที่สุด ในบทความนี้เราจะไปทำความเข้าใจกัน สาเหตุหลักของวิกฤตการณ์เซมิคอนดักเตอร์ขาดแคลนทั่วโลก สาเหตุแรก การระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วงสองปีที่ผ่านมา โลกเราได้เจอปัญหาการระบาดของโควิด-19 ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่เริ่มทำงานที่บ้านและมีการซื้ออุปกรณ์เพื่อไว้ใช้ทำงานมากขึ้น เช่น คอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน และแท็บเล็ต จึงเกิดเป็นอุปสงค์ที่สูงมากในเวลาอันสั้น บวกกับผู้ผลิตบางรายต้องเจอกับการล็อกดาวน์ ทำให้การผลิตซิปเหล่านั้นชะลอตัว ไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด สาเหตุที่สอง สงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน ที่เริ่มขึ้นมาตั้งแต่ปี 2019 และดุเดือดขึ้นเรื่อย ๆ โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐได้กำหนดข้อจำกัดทำให้การค้าขายของบริษัทผู้ผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์ของจีนทำการซื้อขายกันยากขึ้นมาก และยังทำให้บางส่วนต้องย้ายถิ่นฐานการผลิตเพื่อหนีของบังคับการค้าต่าง ๆ จนส่งผลให้บริษัทผลิตไม่ทันความต้องการของตลาด อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคงหนีไม่พ้นอุตสาหกรรมเทคโนโลยี อุตสาหกรรมเทคโนโลยีถือเป็นหนึ่งในผู้บริโภคเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ที่สุดเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ สมาร์ทโฟน แล็ปท็อป แท็บเล็ต ทีวี ตู้เย็น เครื่องซักผ้า หรือ เครื่องเกม สิ่งเหล่านี้ล้วนต้องใช้เซมิคอนดักเตอร์เป็นหัวใจสำคัญ หากใครเป็นคนที่ชื่นชอบการเล่นเกม โดยเฉพาะเกมคอนโซลอย่างเจ้า Playstation ของ Sony คงรู้ข่าวกันดีกว่าเครื่องเกม Playstation 5 ที่พึ่งเปิดตัวไปเมื่อปลายปี… Continue reading ทำไมเซมิคอนดักเตอร์ถืงขาดตลาด และทำไมเราต้องสนใจ

ปัญญาประดิษฐ์ แบบ Generative AI จะมาเปลี่ยนแปลงการดำเนินธุรกิจหรือไม่?

Artificial Intelligence (AI) แตกต่างจาก Generative AI อย่างไร Artificial Intelligence (AI) แปลเป็นภาษาไทยคือ “ความฉลาดที่มีการสร้างขึ้นมา” หรือตามที่หลายๆ คนรู้จักกันว่า “ปัญญาประดิษฐ์” คือ ชุดของ Algorithm (อัลกอริทึม) หรือกระบวนการแก้ปัญหาที่สามารถอธิบายออกมาเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน และสามารถสร้างผลลัพธ์ออกมาได้เองโดยที่ไม่ต้องแนะนำวิธีการให้ ส่วน Generative AI (Gen AI) คือ AI ที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะให้มีความสามารถในการ “สร้างใหม่” จากชุดข้อมูลที่มีอยู่ด้วยอัลกอริทึมแบบ Generative Model โดยสามารถนำมาใช้งานหลากหลาย เช่น การสร้างภาพ การประมวลผลจากการโดนตั้งคำถาม และการสร้างเสียงดนตรี เป็นต้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของ Gen AI คือ ChatGPT AI Chatbot ที่สามารถสื่อสารผ่านข้อความกับมนุษย์ได้อย่างฉลาดและเป็นธรรมชาติ ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัทวิจัย OpenAI ประเทศสหรัฐอเมริกา นำโดย Sam Altman และมีบริษัทร่วมลงทุนหลักหลายแห่ง อาทิเช่น… Continue reading ปัญญาประดิษฐ์ แบบ Generative AI จะมาเปลี่ยนแปลงการดำเนินธุรกิจหรือไม่?

Digital ID คืออะไร และทำไมคนไทยจึงควรรู้จัก Digital ID

หลังจากการประกาศเปิดตัวแอปพลิเคชัน D.DOPA ของกรมการปกครอง เพื่อให้บริการระบบ “Digital ID” อาจทำให้หลายคนเกิดข้อสงสัยว่า Digital ID คืออะไร และทำไมเราจึงควรรู้จัก Digital ID นี้ ในความเป็นจริง คำแปลของ Digital ID หรือ “การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล” ค่อนข้างตรงตัวและครอบคลุมลักษณะการใช้งานโดยรวมอยู่แล้ว โดย Digital ID เป็นการนำเทคโนโลยีมาเพื่อใช้งานใน 2 กระบวนการหลัก คือ 1) การพิสูจน์ตัวตน (Identification) ซึ่งเป็นการนำอัตลักษณ์หรือสิ่งที่สามารถใช้แทนตัวบุคคล เช่น ลายนิ้วมือ บัตรประชาชน Username หรือ Password มาพิสูจน์ว่าบุคคลทางดิจิทัลนี้เป็นบุคคลเดียวกันกับในโลกความเป็นจริง และ 2) การยืนยันตัวตน (Authentication) ซึ่งเป็นกระบวนการยืนยันความเป็นจริงของอัตลักษณ์หรือสิ่งแทนตัวบุคคลนั้นอีกที ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า Digital ID เป็นเสมือนโครงสร้างพื้นฐานทางในการระบุตัวตนบนโลกดิจิทัล ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับเราในการทำธุรกรรมหรือกิจกรรมต่างๆ ทางออนไลน์ได้ การพัฒนา Digital ID ของประเทศไทยนั้นเกิดขึ้นจากความพยายามของหลายฝ่าย… Continue reading Digital ID คืออะไร และทำไมคนไทยจึงควรรู้จัก Digital ID

“The Growth of Pet Market” การเติบโตของตลาดสัตว์เลี้ยงและโอกาสทางธุรกิจเพื่อพิชิตใจคนรักสัตว์

ในปัจจุบัน การที่คนทั่วโลกรวมถึงทั้งคนไทยหันมานิยมเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเปรียบเสมือนเปรียบเสมือนเป็นมนุษย์อีกหนึ่งคน (Pet Humanization) และเปรียบตนเป็นเสมือนพ่อและแม่ (Pet Parent) นั้นกำลังผลักดันให้ตลาดธุรกิจสัตว์เลี้ยง (Pet Market) มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดและรวดเร็วเป็นอย่างมากจนน่าประหลาดใจ โดยจากการสำรวจของทาง Euromonitor พบว่าในปี 2021 มูลค่าตลาดไทยที่ครอบคลุมถึงธุรกิจสินค้าและบริการเพื่อสัตว์เลี้ยง และตลาดธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงนั้นมีมูลค่าสูงถึง 3,954 ล้านบาท และ 40,638 ล้านบาท ตามลำดับ พร้อมทั้งยังมีการคาดการณ์ว่าทั้งมูลค่าของตลาดโลกและตลาดประเทศไทยจะยังคงเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่องเป็นแน่นอน ซึ่งการคาดการณ์ความเติบโตของตลาดดังกล่าวข้างต้น มีความสอดคล้องกับผลสำรวจโดยวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดลที่มีใจความสำคัญกล่าวถึงอัตราการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเพิ่มขึ้นของคนไทยและความยินยอมในการใช้จ่ายเพื่อสัตว์เลี้ยงของตน โดยผลสำรวจได้ชี้ให้เห็นว่า 39.3% ของคนไทยที่มีสัตว์เลี้ยงนั้นเสียค่าใช้จ่ายเพื่ออาหารสัตว์เลี้ยงอยู่ที่ 1,000 – 2,000 บาทต่อเดือน และจากผู้เลี้ยงทั้งหมด กลุ่มคนจำนวนมากกว่าครึ่งหรือ 57.5% กำลังเสียค่าใช้บริการเพื่อสัตว์เลี้ยง อาทิ การอาบน้ำ ตัดขน อยู่ที่ 1,001 – 3,000 บาทต่อเดือน อันแสดงให้เห็นถึงความใส่ใจและกำลังซื้อของคนไทยผู้มีสัตว์เลี้ยงอย่างเห็นได้ชัด แน่นอนว่าการเติบโตที่ก้าวกระโดดที่มาพร้อมทั้งความเต็มใจและกำลังซื้อของกลุ่มคนไทยผู้มีสัตว์เลี้ยงนั้นได้ดึงดูดให้หลากหลายอุตสาหกรรมหันมาเล็งเห็นถึงโอกาสในการทำธุรกิจเพื่อเจาะกลามเป้าหมายของกลุ่มคนรักสัตว์ ตัวอย่างของการริเริ่มทำธุรกิจ ขยายกิจการ หรือการสร้างสินค้าและบริการเพื่อพิชิตใจกลุ่มคนผู้มีสัตว์เลี้ยงที่ได้รับความสนใจในท้องตลาดนั้นในช่วงเวลาที่ผ่านมานั้นมี  (1) การประกาศแผนการขยายร้านพื่อสัตว์เลี้ยง… Continue reading “The Growth of Pet Market” การเติบโตของตลาดสัตว์เลี้ยงและโอกาสทางธุรกิจเพื่อพิชิตใจคนรักสัตว์

แนวโน้มและความต้องการของสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทยในอนาคต

สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EV เป็นหนึ่งองค์ประกอบสำคัญในห่วงโซ่ยานยนต์ไฟฟ้า (EV value chain) โดยธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้าที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างก้าวกระโดด ซึ่งจากรายงานของ BloombergNEF ได้มีการคาดการณ์ไว้ว่า ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง จาก 1.56 หมื่นคันในปี 2022 ไปเป็น 1.13 แสนคันในปี 2030 ในขณะที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มียอดขายรวม 3.1 หมื่นคันและจะมียอดขาย 3.51 แสนคันในปี 2030 ซึ่งจะส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสถานีชาร์จ EV มีทิศทางขยายตัวตามไปด้วย ระบบการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยมี 3 ประเภทประกอบด้วย ประเภทที่ 1 การอัดประจุแบบช้าด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternative Current หรือ AC Slow Charge) เป็นการอัดประจุระดับ 1 ซึ่งเป็นรูปแบบที่ถูกใช้มากที่สุดทั่วโลก โดยจะนิยมชาร์จในที่พักอาศัย เนื่องจากระยะเวลาของการชาร์จใช้เวลานาน 8-10 ชั่วโมง ประเภทที่ 2 การอัดประจุแบบปกติด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternative Current หรือ… Continue reading แนวโน้มและความต้องการของสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทยในอนาคต

ทำไมบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Uniqlo ถึงใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

อย่างที่เราทุกคนทราบกันดีว่าทุกวันนี้ระบบเศรษฐกิจหรือกลุ่มอุตสาหกรรมถูกขับเคลื่อนด้วยความต้องการทางสังคม แน่นอนว่าในขั้นตอนการผลิตนั้นจะต้องอาศัยการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อมาใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งปัจจุบันการเพิ่มของประชากรโดยเฉลี่ยทั่วโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างไม่หยุดหย่อน และการที่ประชากรเพิ่มจำนวนมากขึ้นหมายถึงความต้องการในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในการดำรงชีวิตก็เพิ่มขึ้นด้วย ประกอบกับการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมนานาประการ จึงทำให้โลกเราได้เผชิญหน้ากับปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมในหลายประการ เช่น ปัญหาภาวะโลกร้อน ปัญหาขยะอาหาร ปัญหาขยะพลาสติก ปัญหาฝุ่นละออง และปัญหาสัตว์สูญพันธุ์ ดังนั้นจึงทำให้ปัญหาสิ่งแวดล้อมกลายเป็นประเด็นที่ได้รับการพูดคุยกันอย่างแพร่หลายในสังคมเนื่องจาก ประชาชนมีความตื่นตัวในเรื่องสิ่งแวดล้อมรับรู้ความรุนแรงของปัญหาและผลกระทบที่ตามมาจากการดำเนินกิจกรรมต่างๆในการดำรงชีวิตมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ประชาชนเริ่มตระหนักถึงความสำคัญในการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ผู้ประกอบการและและผู้ผลิตเองจึงเริ่มมีความตระหนักว่าการทำธุรกิจโดยไม่คำนึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วยจะเป็นผลเสียอย่างยิ่งในอนาคตทั้งในแง่ผลประกอบการและการยอมรับของประชาชนจึงได้เริ่มมีการทำระบบเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนและการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเราจะยกตัวอย่างแบรนด์ที่ได้มีการปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยอย่าง UNIQLO  ที่มุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจให้มีความยั่งยืนอย่างแท้จริงด้วยการจำกัดปริมาณการสร้างของเสียให้เกิดขึ้นน้อยที่สุดและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมลง ที่มา:

Contact
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
สอบถามทางโทรศัพท์
+66 2 677 7270-5
10th Floor, Q. House Lumpini Building,
No. 1 South Sathorn Road, Tungmahamek, Sathorn, Bangkok 10120, Thailand