“Brand collaboration” กลยุทธ์การสร้างภาพจำและขยายฐานลูกค้าอย่างมีสีสัน

ปรากฎการณ์การร่วมมือระหว่างแบรนด์ หรือ การคอลแลบส์ (Collab) ระหว่างแบรนด์ (Brand collaboration) นับเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ทางการตลาด (Marketing strategy) ที่สามารถพบเห็นได้ในหลายประเทศทั่วโลก เพราะนอกจากจะเป็นการสร้างสีสรรค์ที่ทำให้เกิดความแปลกใหม่ ไม่จำเจในตัวแบรนด์แล้ว กลยุทธ์ดังกล่าวยังสามารถที่จะสร้างภาพจำของแบรนด์ และขยายฐานลูกค้าให้แบรนด์นั้น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า และส่งผลดีในระยะยาวกว่าการลงทุนทำโฆษณาฟอร์มใหญ่ในบางครั้งเสียอีก การคอลแลบส์ระหว่างแบรนด์ เป็นที่รู้จักอย่างสากลโดยการนำเสนอผ่านใช้สัญลักษณ์ “X” เชื่อมระหว่างชื่อของแบรนด์ทั้งสอง  นับเป็นการผสมผสานโดยคำนึงถึงทั้งความเหมือนและความแตกต่างที่พบกันได้อย่างลงตัว ผู้บริโภคจะสามารถพบเห็นสินค้าที่เกิดจากการคอลแลบส์วางขายอยู่ในช่องทางการขายของแบรนด์ทั้งสองฝ่าย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้เฉกเช่นเดียวกับสินค้าอื่น ๆ ของทางแบรนด์ เมื่ออ่านมาถึงจุดนี้ หลายท่านคงพอจะนึกถึงการคอลแลบส์ที่ท่านเคยเห็นผ่านตามาบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการคอลแลบส์ระหว่างแบรนด์ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมแฟชั่น และในอีกหลาย ๆ อุตสาหกรรม อย่างในกรณีของสินค้าด้านบนที่จัดอยู่ในสินค้าของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม คือ (1) Nipponham X Ippudou ที่เป็นการคอลแลบส์ระหว่าง Nipponham แบรนด์ของบริษัทยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตสินค้าจะพวกเนื้อสัตว์ และ Ippudo หนึ่งในร้านราเมงเลื่องชื่อของญี่ปุ่นที่ปัจจุบันได้ทำการขยายสาขามาในประเทศไทยเป็ยที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งสองบริษัทได้จับมือกันผลิต หมูชาชูสำเร็จ พร้อมนำไปปรุง อันเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถแสดงถึงจุดเด่นของทั้งสองบริษัทขึ้นมาได้อย่างเฉลียวฉลาด และ (2) Craftsake X KitKat… Continue reading “Brand collaboration” กลยุทธ์การสร้างภาพจำและขยายฐานลูกค้าอย่างมีสีสัน

โอกาสทางธุรกิจกับบทบาทของกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดแบบโยลด์ YOLD

สำหรับประเทศไทย ในพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 มาตรา 3 ได้บัญญัติว่า ผู้สูงอายุ หมายถึง “บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไปและมีสัญชาติไทย” โดยมีการคาดการณ์ว่า ประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Completely Aged Society) หรือเป็นสังคมที่มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป เกินกว่าร้อยละ 14 ของประชากรทั้งหมดในปี พ.ศ. 2567 และกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด (Super-Aged Society) ซึ่งหมายถึงสังคมที่มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป เกินกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมดในปี พ.ศ. 2575 จากบทความของ John Parker ใน The Economist กล่าวว่า ปีค.ศ. 2020 เป็นจุดเริ่มต้นทศวรรษของ YOLD ซึ่งคำว่า “YOLD” นี้มีที่มาจากประเทศญี่ปุ่น มาจากคำว่า “Young Old” หมายถึงผู้สูงอายุที่ยังมีความกระฉับกระเฉงเหมือนหนุ่มสาว มีสุขภาพแข็งแรง มีอายุ 65-75… Continue reading โอกาสทางธุรกิจกับบทบาทของกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดแบบโยลด์ YOLD

“TikTok marketing” กลยุทธ์การเข้าถึงผู้บริโภคที่ไม่ควรมองข้าม

อย่างที่เป็นอันรู้กันว่า ในปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์ทุกเพศและทุกช่วงอายุ ทำให้ธุรกิจในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เริ่มเห็นความสำคัญของการเข้าถึงผู้บริโภคผ่านช่องทางออนไลน์มายิ่งขึ้น โดยการสรรหากลยุทธ์การทำการตลาดบนแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อที่จะทำให้สินค้าหรือบริการของตนเป็นที่รู้จัก และมากไปกว่านั้นคือการเอาชนะใจของผู้บริโภคให้เข้ามาเป็นลูกค้าของตน เพราะฉะนั้นหากเราลองสังเกตแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ ในปัจจุบันเทียบเคียงกับแพลตฟอร์มออนไลน์ในอดีตจะสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนว่าแบรนด์ต่าง ๆ นั้นกำลังแข่งขันที่จะดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคกันอย่างดุเดือด  ไม่ว่าจะผ่านการซื้อโฆษณาเพื่อยิงไปหากลุ่มเป้าหมายต่างๆ หรือที่ผู้คนเรียกกันจนติดปากว่ายิงแอด (Advertising) การทำอินฟลูเอนเซอร์ มาร์เก็ตติ้ง (Influencer marketing) แต่หนึ่งในวิธีการทำมาร์เกตติ้งที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในหลายประเทศทั่วโลกนั้นก็คือ การทำมาร์เกตติ้งผ่านแอพพลิเคชั่น TikTok หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า TikTok marketing แอพพลิเคชั่น TikTok เป็นแอพพลิเคชั่นเปิดตัวขึ้นในปีค.ศ. 2016 โดยบริษัท ByteDance หนึ่งในยูนิคอร์นยังใหญ่ที่สุดในวงการสตาร์ทอัพของโลก โดยความพิเศษของ TikTok นั้นคือการเปิดช่องทางให้ผู้เล่นสามารถสร้าง ดู และแชร์วิดีโอที่มีความยาวประมาณ 15 วินาที พร้อมทั้งยังสามารถใส่ฟิลเตอร์ เพลง หรือ เสียงประกอบต่าง ๆ ลงไปในวิดีโอได้ตามใจ ซึ่งการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของ TikTok นั้นได้เกิดขึ้นในช่วงวิกฤตการณ์โควิด 19 ที่ทำให้รายได้ของบริษัทที่เคยอยู่ที่ 189 ล้านเหรียญสหรัฐในปีค.ศ. 2019… Continue reading “TikTok marketing” กลยุทธ์การเข้าถึงผู้บริโภคที่ไม่ควรมองข้าม

Shrinkflation คืออะไร ต่างกับ Inflation อย่างไร และทำไมเราควรรู้

ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักกับคำว่า Shrinkflation เราควรทำความรู้จักความหมายของคำว่า Inflation กันก่อน Inflation หรือเงินเฟ้อ คือ ภาวะที่ระดับราคาของสินค้าและบริการโดยทั่วไปในประเทศปรับตัวสูงขึ้น แต่ในเชิงมูลค่า ค่าของเงินกลับต่ำลง ตัวอย่างเช่น เมื่อก่อนถ้าเรามีเงิน 30 บาท เราสามารถซื้อไข่ไก่ได้ 10 ฟอง แต่ในปัจจุบัน เราสามารถซื้อไข่ไก่แบบเดียวกันได้แค่ 5 ฟองเท่านั้น เหตุผลที่เราสามารถซื้อได้แค่ 5 ฟอง ไม่ได้เป็นเพราะไข่ไก่นั้นมีคุณภาพที่ดีขึ้นกว่าเมื่อก่อน แต่เป็นเพราะมูลค่าของเงินในกระเป๋าเรานั้นต่ำลง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา Inflation หรือภาวะเงินเฟ้อในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย ได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนสูงกว่าที่ควรจะเป็นอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้ต้นทุนวัตถุดิบต่าง ๆ ที่ใช้ในการผลิตนั้นสูงขึ้น ซึ่งหมายความว่าผู้ผลิตจะต้องแบกรับภาระตันทุนที่สูงขึ้น และหากผู้ผลิตไม่ทำอะไรสักอย่าง ก็จะเป็นดั่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดอย่างกรณีที่เกิดขึ้นเมื่อต้นปีพ.ศ. 2565 ที่ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 3 ยี่ห้อดัง ได้ยื่นเรื่องขอขึ้นราคาบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ต่อกรมการค้าภายใน จากราคา 6 บาทเป็น 8 บาท โดยมีราคาวัตถุดิบต่าง ๆ มีการปรับตัวที่สูงเป็นเหตุผล อย่างไรก็ตามข้อสรุปของกรณีดังกล่าวคือกรมการค้าภายในได้ตอบรับข้อเสนอพร้อมกับอนุมัติให้ปรับราคาเพิ่มขึ้นเป็น 7 บาทเพียงเท่านั้น… Continue reading Shrinkflation คืออะไร ต่างกับ Inflation อย่างไร และทำไมเราควรรู้

โอกาสทางธุรกิจกับการเจาะกลุ่มตลาด LGBTQ ในประเทศไทย

ในเดือนมิถุนายน ของทุกปีถือเป็น “Pride Month” หรือเดือนที่เป็นความภาคภูมิใจของกลุ่ม LGBTQ ประเทศไทยเป็นหนึ่งในหลายประเทศที่ให้การยอมรับในความหลากหลายทางเพศ ซึ่งในเชิงการตลาดนั้น “โอกาส” และ “ศักยภาพ” ของกลุ่มผู้บริโภคชาว LGBTQ เป็นกลุ่มเป้าหมายทางการตลาด (Target Market) ที่นับได้ว่ามีมูลค่ามหาศาล ซึ่งจากข้อมูลของ LGBTQ-Capital พบว่าในปี 2020 จำนวนประชากรชาว LGBTQ ในทวีปเอเชีย-แปซิฟิกที่มีอายุมากกว่า 15 ปี มีจำนวนมากถึง 175,688,000 คน โดยประเทศที่มีประชากร LGBTQ สูงสุด 5 ประเทศได้แก่ ประเทศจีน 74,700,000 คน ประเทศอินเดีย 64,600,000 คน ประเทศอินโดนิเซีย 12,700,000 คน ประเทศญี่ปุ่น 7,100,000 คน และประเทศไทย 3,600,000 คน สำหรับประเทศไทย มีการขับเคลื่อน พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม การรองรับสิทธิชอบธรรมต่างๆ ตามกฎหมาย รวมถึงการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและความเท่าเทียมทางเพศ… Continue reading โอกาสทางธุรกิจกับการเจาะกลุ่มตลาด LGBTQ ในประเทศไทย

EEC และการลงทนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย

โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor(EEC) หรือที่หลายคนรู้จักกันในชื่อ อีสเทิร์นซีบอร์ด (Eastern Seaboard) เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาพื้นที่ใน 3 จังหวัดพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก ได้แก่ ระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา ให้เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย EEC มีโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ที่มีความพร้อมรับกับทุกกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นท่าเรือแหลมฉบัง หนึ่งในท่าเรือน้ำลึกหลักสำหรับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งล่าสุดทาง EEC มีแผนที่จะพัฒนาท่าเรือแห่งนี้ให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าของภูมิภาคอินโดจีนและประตูการค้าสำคัญที่สามารถรองรับตู้สินค้าที่เพิ่มขึ้นและรองรับการขนส่งของอุตสาหกรรมหนัก เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ นอกจากนี้ EEC ยังอยู่ระหว่างพัฒนารถไฟความเร็วสูงที่จะเชื่อมโยงการเดินทางระหว่างสนามบินดอนเมือง สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินอู่ตะเภา ให้มีความรวดเร็วและสะดวกสบายด้วยความเร็ว 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง และยังมีแผนที่จะพัฒนาท่าเรือมาบตาพุดเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและความจุในการขนถ่ายก๊าซธรรมชาติและสินค้าเหลวสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เพื่อรักษาความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ และเมื่อพัฒนาแล้วเสร็จจะสามารถรองรับการขนส่งได้ 31 ล้านตันต่อปี ภาพรวมพื้นที่โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor (EEC) สำหรับนักลงทุนที่สนใจจะเข้ามาเริ่มดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ทาง EEC ได้กำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายตามแผนการพัฒนาประเทศไปสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ตามนโยบายของรัฐบาลไว้ 12 กลุ่ม ได้แก่ การยกระดับ… Continue reading EEC และการลงทนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย

ภาพรวมตลาดอาหารเสริมเพิ่มโปรตีนในประเทศไทย และเทรนผลิตภัณฑ์เสริมโปรตีนที่กำลังมาแรงในปัจจุบัน

สืบเนื่องจากวิกฤตการณ์โควิด 19 และการระบาดของไข้หวัดชนิดต่าง ๆ ที่ทาให้ผู้คนหันมาใส่ใจสุขภาพและการดูแลตัวเองกันมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะผ่านการปรับการใช้ชีวิตประจาวัน อย่างการหันมาออกกาลังกายและปรับพฤติกรรมการกินของตน หนึ่งในพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัดนั่นก็คือการกันมาบริโภคอาหารเสริม (Vitamin and Dietary Supplement) กันมากยิ่งขึ้นหนึ่งในสารอาหารที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงเป็นอย่างมากคือ “โปรตีน” (Protein Supplement) ซึ่งนับเป็นสารอาหารที่มีหน้าที่สาคัญในการเพิ่มความแข็งแรงให้ผิวหนัง กระดูก และกล้ามเนื้อสาหรับผู้คนทุกเพศทุกวัย โดยผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพิ่มโปรตีนที่สามารถพบเห็นได้บ่อยในท้องตลาดนั่น มาทั้งในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ โปรตีนชนิดเม็ด และโปรตีนสกัดผง ให้ผู้คนได้เลือกสรรที่จะบริโภคตามความสะดวกสบายของแต่ละคน การเติบโตของตลาดอาหารเสริมเพิ่มโปรตีนของประเทศไทย และผู้เล่นสาคัญในตลาด จากกราฟด้านล่าง จะสามารถสังเกตเห็นได้ว่าตั้งแต่ปีค.ศ. 2016 – ค.ศ. 2021 ตลาดอาหารเสริมเพิ่มโปรตีนในประเทศไทยมีการเจริญเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะในช่วงที่โควิด 19 เริ่มระบาด ปีค.ศ. 2019 ปีที่มีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 2,898.3 ล้านบาท ได้เพิ่มขึ้นเป็น 3,150.5 ล้านในปีค.ศ. 2020 และเป็นมูลค่า 3,323.8 ล้านบาทในปีค.ศ. 2021 ตามลาดับ โดยการสำรวจรายชื่อผู้เล่นสำคัญในตลาดอาหารเสริมเพิ่มโปรตีนของประเทศไทยของปีค.ศ. 2021 พบว่า… Continue reading ภาพรวมตลาดอาหารเสริมเพิ่มโปรตีนในประเทศไทย และเทรนผลิตภัณฑ์เสริมโปรตีนที่กำลังมาแรงในปัจจุบัน

เจาะตลาดสินค้าแบรนด์หรูในปี 2564

ในปัจจุบัน สินค้าแบรนด์หรูนับเป็นวัตถุอย่างหนึ่งที่ใช้ในการแสดงตัวตน สไตล์ และรสนิยมของผู้บริโภค โดยสินค้าแบรนด์หรูเหล่านี้จะสร้างทัศนคติในการซื้อสินค้าและบริการของตนเองว่าเป็นการได้ครอบครองสถานะทางสังคม ผ่านการแสดงความหายาก คุณภาพและการผลิตชิ้นงานที่เหนือกว่าสินค้าอื่น ๆ ในตลาด Mass ซึ่งทำให้ความต้องการสินค้า (อุปสงค์) และราคาเพิ่มขึ้น จากฐานข้อมูล EMIS ในปีที่ผ่านมา กลุ่มสินค้าลักชัวรีในกลุ่มสินค้าส่วนบุคคลมีมูลค่าสูงถึง 67,428 ล้านบาท และคาดว่าจะเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จนมีมูลค่าสูงถึง 99,183 ล้านบาทภายในปี 2569 โดยคาดว่าจะมีอัตราเติมโตร้อยละ 8 ต่อปีเลยทีเดียว โดยมีเหตุผลหลัก ๆ คือจำนวณประชากรที่มีเงินเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ    (affluent individuals) และเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นทำให้การเข้าถึงสินค้าง่ายขึ้น หากแบ่งตามสัดส่วนภายในของสินค้าลักชัวรีในกลุ่มสินค้าส่วนบุคคล จะพบว่า สินค้าประเภทเสื้อและรองเท้า (Designer apparel and Footwear) มีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 29 ตามมาด้วยสินค้าประเภทเครื่องหนัง (Luxury Leather goods) ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 23 และสินค้าเพื่อความงามและดูแลร่างกาย (Premium Beauty and personal… Continue reading เจาะตลาดสินค้าแบรนด์หรูในปี 2564

PDPA คืออะไร กระทบต่อภาคธุรกิจอย่างไร

หลังจากที่เลื่อนบังคับใช้มามากว่า 2 ปี เป็นที่แน่นอนแล้วว่าตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (The Personal Data Protection Act B.E. 2562 (2019)) หรือที่คุ้นหูกันว่า “PDPA” จะมีผลบังคับใช้ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ PDPD คืออะไร? PDPD คือกฎหมายที่ออกมาเพื่อปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล (Personal data) หรือข้อมูลที่สามารถระบุตัวตนของบุคคลบุคคลหนึ่งได้ เช่น ชื่อ ที่อยู่ เลขบัตรประชาชน เบอร์โทรศัพท์ อีเมล เลขที่บัญชีธนาคาร ประวัติการรักษาพยาบาล เป็นต้น โดย PDPA กำนดไว้ว่าหากผู้ใดจะเก็บรวมรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้จะต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อน ซึ่งการขอความยินยอมอาจทำเป็นหนังสือหรือผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ โดยจะต้องแจ้งวัตถุประสงค์ในการใช้รวมถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว อย่างไรก็ตามบางกรณีผู้ใช้ข้อมูลอาจะไม่ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หากการเปิดเผยดังกล่าวเป็นไปเพื่อป้องกันอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน เพื่อดำเนินการทางกฎหมาย หรือเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะ เป็นต้น PDPA กระทบต่อภาคธุรกิจอย่างไร? ภาคธุรกิจที่มีการจัดเก็บและนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้งานในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ หรือ “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล”(Controller)… Continue reading PDPA คืออะไร กระทบต่อภาคธุรกิจอย่างไร

ประเทศไทยกับเรื่อง “การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์” (net zero emissions)

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ คืออะไร Net Zero คือการสร้างสมดุลให้สภาพภูมิอากาศของโลกด้วยการ “จำกัด” การปล่อยก๊าซเรือนกระจกร่วมกับการ “กำจัด” ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยเข้าสู่ชั้นบรรยากาศไปแล้ว สําหรับการดําเนินงานของประเทศไทย นับตั้งแต่ประเทศไทยเข้าเป็นนภาคี กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ United Nations Framework Convention on Climate Change (UNFCCC) เมื่อปี พ.ศ. 2537 ประเทศไทยได้ดําเนินการร่วมกับนานาประเทศในการรักษาระดับ ความเข้มข้นของปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ และตั้งรับปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ในวันที่ 4 สิงหาคม 2564 มีการเห็นชอบกรอบแผนพลังงานชาติ  (National Energy Plan) ซึ่งได้กำหนดแนวนโยบายภาคพลังงาน เพื่อสนับสนุนให้ประเทศไทยสามารถมุ่งสู่พลังงานสะอาด และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (คาร์บอนไดออกไซด์) สุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายใน ค.ศ. 25660 – 2570 (พ.ศ. 2608 – 2613)… Continue reading ประเทศไทยกับเรื่อง “การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์” (net zero emissions)

Contact
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
สอบถามทางโทรศัพท์
+66 2 677 7270-5
10th Floor, Q. House Lumpini Building,
No. 1 South Sathorn Road, Tungmahamek, Sathorn, Bangkok 10120, Thailand