ภาพรวมอุตสาหกรรมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในช่วง 6 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2016-2021

2 ปีมาแล้วที่สังคมโลกต้องเผชิญกับวิกฤติโรคระบาด “โควิด-19” ที่ทำให้สภาวะเศรษฐกิจถดถอยจนเปลี่ยนชีวิตหลายๆ ครอบครัว บ้างต้องตกงานกระทันหัน บ้างแม้จะยังมีงานทำก็กลับมีรายได้ก็ลดลง คนไทยในช่วงเวลานี้จึงต้องประหยัดกินประหยัดใช้กันเป็นพิเศษ และหนึ่งในวิธีการช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายที่สามารถพบได้ทั่วไปคือ การพึ่งพา “บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” อาหารที่มีราคาถูกและช่วยให้อิ่มท้องได้ยาวนาน  บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเป็นอาหารที่รับประทานได้ง่าย เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย และยังเป็นอาหารที่คนไทยซื้อมารับประทานกันอยู่เป็นประจำ ไปจนกระทั่งซื้อไว้ติดบ้านเสมือนเป็นเรื่องปกติ  จึงทำให้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเป็นที่นิยมอย่างมาก รู้หรือไม่ ตลาดโลก (Global market size) ของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในปีค.ศ. 2021 มีขนาดใหญ่ถึง 33,254.3 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีประเทศจีนมาเป็นอันดับหนึ่งในด้านการซื้อขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ตามด้วยประเทศญี่ปุ่นมาเป็นอันดับสอง และประเทศไทยมาเป็นอันดับที่สิบ  ทั้งนี้ ยังมีการคาดการณ์ว่าตลาดโลกของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปดังแผนภาพข้างต้น จะยังคงเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ด้วยอัตราการเติบโตร้อยละ 4.1 ต่อปี และคาดว่าจะเติบโตขึ้นสูงถึง 40,708.7 ล้านเหรียญสหรัฐในปีค.ศ. 2026 ในส่วนของตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของประเทศไทยที่มีมูลค่าสูงถึง 661.9 ล้านเหรียญสหรัฐในปีค.ศ. 2021 นั้นมีการคาดการณ์ว่าจะยังคงเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ด้วยอัตราการเติบโตร้อยละ 6.0 หรือจนมีมูลค่ามากถึง 886.2 ล้านเหรียญสหรัฐในปีค.ศ. 2026 โดยปัจจัยสนับสนุนหลากหลายด้าน อาทิ เช่น เศรษฐกิจชะลอตัวทำให้ประชาชนลดการใช้จ่ายกับสิ่งไม่จำเป็น… Continue reading ภาพรวมอุตสาหกรรมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในช่วง 6 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2016-2021

Startup คืออะไร? หากสนใจลงทุนใน Startup ต้องวิเคราะห์อะไรบ้าง?

หลายปีที่ผ่านมา “Startup” ได้ถูกพูดถึงกันอย่างแพร่หลายในแวดวงธุรกิจและการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกธุรกิจยุค 4.0 ไอเดียและนวัตกรรมสมัยใหม่ได้เข้ามามีบทบาทในการสร้างสรรธุรกิจใหม่ๆมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดในรูปแบบที่แตกต่างไป บทความนี้จะช่วยไขข้อสงสัยเกี่ยวกับนิยามของ Startup และสิ่งที่นักลงทุนควรคำนึงก่อนตัดสินใจลงทุนใน Startup Startup คืออะไร?  “Startup” (สตาร์ทอัพ) ถูกนิยามในความหมายที่หลากหลาย แต่มีความหมายที่คล้ายๆกันว่าคือ ธุรกิจเกิดใหม่ที่มักมีไอเดียมาจากนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันและตอบสนองโอกาสทางธุรกิจที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และหากธุรกิจนี้ประสบความสำเร็จ เราจะเห็นการเติบโตแบบก้าวกระโดดกว่าธุรกิจทั่วไป จะลงทุนใน Startup ได้อย่างไรบ้าง? การทำธุรกิจทุกประเภทล้วนต้องการเงินลงทุน Startup ก็เช่นกัน แหล่งเงินทุนของ Startup อาจเริ่มต้นจากการใช้เงินลงทุนส่วนตัว เงินลงทุนจากครอบครัว Crowdfunding, Angel investors, Incubators รวมถึงจาก Venture Capital Firms ซึ่งเป็นผู้ลงทุนที่มีความสามารถในการสนับสนุนเงินลงทุนเป็นจำนวนมาก Venture capital (VC) หรือ ธุรกิจการร่วมลงทุน คือกิจการที่มีการจัดสรรเงินลงทุนเพื่อเข้าไปถือหุ้นในธุรกิจ Startup ทั้งในช่วงระดมทุนเพื่อเริ่มธุรกิจและในช่วงของการเติบโต ทั้งนี้ธุรกิจการร่วมลงทุนอาจจะเป็นกิจการมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การสนับสนุนเงินทุนแก่ Startup โดยเฉพาะ หรืออาจเป็นกิจการอื่นที่มองเห็นโอกาสในการสานต่อทางธุรกิจและควบรวมกิจการในอนาคต หากสนใจลงทุนใน Startup ต้องวิเคราะห์อะไรบ้าง?… Continue reading Startup คืออะไร? หากสนใจลงทุนใน Startup ต้องวิเคราะห์อะไรบ้าง?

ทำความรู้จัก “SWIFT” ระบบธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศ ที่ประเทศรัสเซียโดนกีดกัน

SWIFT is like Twitter The Society for Worldwide Interbank Financial Telecommunication: SWIFT (สวิฟต์) หรือ สมาคมเพื่อการโทรคมนาคมทางการเงินระหว่างธนาคารทั่วโลก เป็นเครือข่าย และฟันเฟืองสำคัญในการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบคำสั่งข้อความที่ช่วยให้การโอนเงินข้ามประเทศจากธนาคารทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว ราบรื่น และปลอดภัย ซึ่สวิฟต์มีสำนักงานใหญ่ของตั้งอยู่ที่ La Hulpe, ใกล้กับกรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยม ก่อตั้งโดยธนาคารสหรัฐฯ และธนาคารยุโรปหลายแห่ง ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2516 (ค.ศ.1973) และเริ่มเปิดให้บริการในปีพ.ศ. 2520 (ค.ศ.1980) ปัจจุบันมีสถาบันการเงินกว่า 11,000 แห่งใช้บริการชำระเงินผ่านระบบสวิฟต์ ซึ่งครอบคลุมการใช้งานอยู่ถึง 200 ประเทศ   ซึ่งจากบทความใน Money Buffalo มีผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินสรุปไว้ว่า “ระบบสวิฟต์ เปรียบเสมือน Twitter ของธนาคาร ซึ่งไม่ได้ทำหน้าที่โยกย้ายเงินไปมา แต่ระบบสวิฟต์ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของเงิน” SWIFT มีความสำคัญต่อรัสเซีย ธนาคารแห่งชาติของเบลเยียมร่วมมือกับธนาคารกลางที่สำคัญหลายแห่งทั่วโลกในการดูแลระบบสวิฟต์ ซึ่งเป็นตัวกลางรับส่งข้อมูลการโอนเงินระหว่างประเทศ ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมของธนาคารไม่ว่าจะอยู่ในประเทศไหน เฉพาะปีพ.ศ.… Continue reading ทำความรู้จัก “SWIFT” ระบบธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศ ที่ประเทศรัสเซียโดนกีดกัน

มาเรียนรู้เกี่ยวกับส่วนประกอบสำคัญของรถยนต์ไฟฟ้า (EV) กัน

เป็นที่รู้กันดีว่ารถยนต์ไฟฟ้านั้นแตกต่างจากรถยนต์สันดาปตรงที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ในการขับเคลื่อนแทนน้ำมันเชื้อเพลิง และรถยนต์ไฟฟ้ายังไม่มีตัวเครื่องยนต์ (Engine) และระบบเกียร์ (Transmission) ดังนั้นในบทความนี้เราจะมาเจาะลึกเพิ่มเติมในส่วนของส่วนประกอบสำคัญ 7 อย่างที่มีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนของรถยนต์ไฟฟ้า ได้แก่ มอเตอร์ (Motor) รีดิวเซอร์ (Reducer) แบตเตอร์รี่ (Battery) ระบบ การจัดการแบตเตอรี่(Battery Management System) ระบบควบคุมอุณหภูมิแบตเตอรี่ (Battery heating System) ระบบชาร์จไฟฟ้าแบบออนบอร์ด (on-board charger) และ ชุดควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าในรถยนต์ (Electric Power Control Unit (EPCU)) มอเตอร์ (Motor) หากเปรียบเป็นเครื่องยนต์สันดาป มอเตอร์ก็คือเครื่องยนต์ของรถยนต์ไฟฟ้า (EV) โดยจะทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้า (electricity) ให้เป็นพลังงานจลน์ (kinetic energy) ซึ่งจุดเด่นของตัวมอเตอร์ คือ เสียงที่เงียบจากการที่มีแรงสั่นสะเทือนที่น้อยกว่าเครื่องยนต์ทั่วไป นอกจากนี้ ระบบส่งกำลังบนเครื่องยนต์ไฟฟ้านั้นยังมีขนาดเล็กกว่าเครื่องยนต์สันดาปเป็นอย่างมาก จึงทำให้รถยนต์มีพื้นที่เยอะขึ้น ลดข้อจำกัดในการออกแบบรถยนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ขยายพื้นที่ที่นั่งให้มีระยะมากขึ้น หรือขนาดช่องใส่สัมภาระที่ใหญ่ขึ้น                 โดยหลักการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้า… Continue reading มาเรียนรู้เกี่ยวกับส่วนประกอบสำคัญของรถยนต์ไฟฟ้า (EV) กัน

ข้อตกลงการค้าเสรี RCEP และประโยชน์ที่ไทยจะได้รับ

 หลังจากที่ข้อตกลงการค้าเสรีที่ใหญ่สุดในโลกอย่าง The  Regional Comprehensive Economic Partnership (RCEP)  หรือความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคได้เริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา หลายภาคส่วนต่างจับตามองว่าความร่วมมือทางการค้านี้จะสร้างประโยชน์ให้กับเศรษฐกิจและการลงทุนในกลุ่มประเทศสมาชิกรวมถึงประเทศไทยอย่างไรบ้าง บทความนี้จะช่วยตอบคำถามนี้และสรุปประเด็นสำคัญที่นักลุงทุนควรทราบ ในภาพรวม RCEP เป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียน ( ไทย กัมพูชา บรูไน พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย) และ 5 ประเทศคู่เจรจา (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์) ซึ่งเป็นความตกลงการค้าเสรีที่ใหญ่สุดในโลกครอบคลุมประชากรรวมกัน 2,300 ล้านคน (30.2% ของประชากรโลก) GDP รวมมูลค่า 28.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (33.6% ของ GDP โลก) และมูลค่าการค้ารวม 10.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (30.3% ของมูลค่าการค้าของโลก) โดยความร่วมมือนี้จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการค้า… Continue reading ข้อตกลงการค้าเสรี RCEP และประโยชน์ที่ไทยจะได้รับ

CPTPP กับโอกาส และผลกระทบของประเทศไทย

หลายคนคงสงสัยว่า ตัวอักษรภาษาอังกฤษ 5 ตัวนี้ “CPTPP” คืออะไร แล้วทำไมหลายภาคส่วนถึงให้ความสนใจ ข้อตกลงทางการค้า “ซีพีทีพีพี” (Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership: CPTPP) เป็นข้อตกลงการค้าเสรีระหว่าง 11 ประเทศ ในแถบภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งประกอบด้วย ออสเตรเลีย, บรูไน ดารุสซาลาม, แคนาดา, ชิลี, ญี่ปุ่น, มาเลเซีย, เม็กซิโก, นิวซีแลนด์, เปรู, สิงคโปร์ และเวียดนาม โดยพัฒนามาจากการเจรจาข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ “ทีพีพี” (Trans-Pacific Partnership: TPP) ซึ่งเดิมทีมี “สหรัฐอเมริกา” รวมอยู่ด้วยก่อนที่ภายหลังจะถอนตัวออกมา ซึ่งข้อแตกต่างระหว่าง CPTPP กับ TPP คือขนาดของเศรษฐกิจ และการค้าที่เล็กลง แต่มีกฎเกณฑ์ที่ผ่อนคลายมากขึ้น CPTPP จะส่งผลดีกับประเทศอื่นๆ อย่างไร ประเทศญี่ปุ่น –… Continue reading CPTPP กับโอกาส และผลกระทบของประเทศไทย

Subscription Model: โมเดลธุรกิจใหม่แห่งยุคดิจิทัล

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าโลกของเรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลแบบเต็มตัว เทคโนโลยีต่างๆถูกพัฒนาอย่างรวดเร็วเพื่อตอบรับกับการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้การแพร่ระบาดของโรคโควิดยังเป็นตัวเร่งให้ผู้คนได้ใช้ระบบดิจิทัลกันมากขึ้น และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจ เช่น ระบบบริการสมัครสมาชิก (Subscription model) จากเดิมที่เราคุ้นเคยกับระบบบริการสมัครสมาชิกธุรกิจแนวนิตยสาร หนังสือพิมพ์ หรือผู้ให้บริการทางโทรศัพท์ ที่สมัครผ่านตัวแทนจำหน่ายที่มานำเสนอถึงบ้าน ทางไปรษณีย์ หรือทางโทรศัพท์ ปัจจุบันเราเริ่มเห็นการสมัครสมาชิกทางออนไลน์ของหนังสือพิมพ์และนิตยสารต่างๆ รวมถึงการนำมาใช้ในธุรกิจอื่นๆ อย่าง Netflix, Spotify และ Adobe ระบบบริการสมัครสมาชิกแบบออนไลน์นี้ เป็นอีกทางเลือกสำคัญที่ช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงสินค้าและบริการต่างๆ ได้อย่างสะดวกมากขึ้น Subscription Model คืออะไร Subscription Business Model คือโมเดลธุรกิจที่ให้ลูกค้าจ่ายค่าบริการเป็นรายวัน รายเดือนหรือรายปี เพื่อให้สามารถใช้สินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง และเก็บค่าบริการไปเรื่อยๆ แทนการจ่ายเงินซื้อสินค้าครั้งเดียวจบ Subscription Model ได้เปลี่ยนจากการทำธุรกิจแบบต้องพึ่งพาคนกลางหรือตัวแทนจำหน่าย เป็นระบบที่จะทำให้ลูกค้าเข้าถึงสินเค้าและบริการได้ง่ายขึ้นโดยไม่ต้องพึ่งพาผู้ค้าคนกลาง เพียงแค่สมัครและจ่ายค่าสมาชิกเอาไว้ ก็จะได้รับสินค้าตามที่ต้องการโดยไม่ต้องเสียเวลาเข้ามาสั่งซื้อบ่อย ๆ ส่งผลให้พฤติกรรมของลูกค้าสนับสนุนสินค้าหรือบริการของคุณอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังระบบนี้ยังช่วยให้คาดการณ์รายรับในอนาคตได้อย่างแม่นยำจากจำนวนผู้สมัครสมาชิก โมเดลนี้จึงกลายเป็นที่นิยมในหลายๆธุรกิจ ประเภทของ Subscription Model   Subscription Model มี 3 รูปแบบด้วยกันดังนี้ Replenishment… Continue reading Subscription Model: โมเดลธุรกิจใหม่แห่งยุคดิจิทัล

ภาพรวมและแนวโน้มนิคมอุตสาหกรรมประเทศไทยในอนาคต

นิคมอุตสาหกรรมหมายถึงเขตพื้นที่ดินซึ่งถูกจัดสรรไว้สำหรับจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมรวมกันอย่างเป็นสัดส่วน นิคมอุตสาหกรรมสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ (1) เขตอุตสาหกรรมทั่วไป (General Industrial Zone) คือเขตพื้นที่ที่กำหนดไว้สำหรับการประกอบอุตสาหกรรม การบริการหรือกิจการอื่นที่เป็นประโยชน์ หรือเกี่ยวเนื่องกับการประกอบอุตสาหกรรมหรือ การบริการ  (2) เขตประกอบการเสรี (I-EA-T Free Zone) คือ เขตพื้นที่ที่กำหนดไว้สำหรับการประกอบอุตสาหกรรมพาณิชยกรรม โดยผู้ประกอบการที่เข้ามาทำธุรกิจในนิคมอุตสาหกรรมจะได้สิทธิประโยชน์กว่าผู้ประกอบการธุรกิจในเขตอุตสาหกรรมทั่วไปดังนี้ การได้รับสิทธิ์ยกเว้นค่าธรรมเนียมอากรขาเข้า-ออก ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิตสำหรับเครื่องจักร วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์  ได้รับการอำนวยความสะดวกในการนำของเข้าไปในเขตประกอบการเสรีโดยจะได้รับสิทธิประโยชน์เช่นเดียวกับเขตปลอดอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรดังนี้ของที่นำเข้าเพื่อส่งออกไม่อยู่ภายใต้การควบคุมมาตรฐาน หลายปีที่ผ่านมา จำนวนนักลงทุนจีนได้เข้ามาลงทุนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต ทำให้สัดส่วนจำนวนนักลงทุนจีนที่ได้มาจัดตั้งโรงงานและบริษัทภายในนิคมอุสาหกรรมไทยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับนักลงทุนประเทศอื่นๆ โดยมีเหตุผลมาจากประเทศจีนกำลังประสบปัญหาพลังงานสำหรับอุตสาหกรรมภายในประเทศเริ่มมีไม่เพียงพอ แต่ในขณะที่ประเทศไทยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคยังมีไฟฟ้าสำรองใช้อีก 40%  นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีข้อได้เปรียบด้านภูมิศาสตร์ในการเป็นฐานการผลิตในภูมิภาคอาเซียน เป็นศูนย์กลางทางการค้าของภูมิภาค และมีการเชื่อมโยงด้านโลจิสติกส์ทั้งทางถนนและระบบราง ซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดการลงทุนใหม่ และหนึ่งในสาเหตุที่ประเทศไทยเป็นตัวเลือกที่น่าสนในสายตานักลงทุนชาวต่างชาติคือสิทธิประโยชน์จากการลงทุนในโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งนักลงทุนชาวต่างชาติสามารถเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้ 100% ต่างจากประเทศอื่นๆ ที่ให้สิทธิ์เช่าระยะยาว รวมถึงพื้นที่ EEC มีข้อได้เปรียบในเรื่องทำเลที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมที่อยู่ใกล้ถนนเส้นทางหลวงที่ซึ่งกำลังมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นที่พื้นฐานที่สำคัญคือ ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือมาบตาพุด สนามบินอู่ตะเภา สนามบินสุวรรณภูมิและเส้นทางรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน… Continue reading ภาพรวมและแนวโน้มนิคมอุตสาหกรรมประเทศไทยในอนาคต

10 ข่าวเด่นประจำปี 2021 โดย SBCS

เหลือเพียงอีกไม่กี่วันก็จะขึ้นปีใหม่แล้ว เรียกได้ว่าปี 2021 เป็นปีที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่อย่างมาก                              อย่างไรก็ตามตั้งแต่เดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา ประเทศไทยก็กลับมาเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติอีกครั้ง เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักของไทย นอกจากนี้ ปี 2021 ยังเป็นปีที่มีความพยายามในการเริ่มต้นแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง เช่น รูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจแบบใหม่ BCG Model ทางเราได้สรุป 10 ข่าวเด่นประจำปี 2021 และเหตุการณ์อื่นๆที่น่าประทับใจจากการตอบแบบสอบถามของพนักงาน SBCS ไว้ด้านล่างนี้ และขอใช้โอกาสนี้สวัสดีปีใหม่ทุกท่านค่ะ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ฟื้นกิจการ ศูนย์จัดหา จัดซื้อวัตถุดิบ ชิ้นส่วน และส่วนประกอบระหว่างประเทศ (IPO) [มกราคม] รัฐประหารในประเทศพม่า ผู้ลี้ภัยชั่วคราวข้ามชายแดนมาไทย [กุมภาพันธ์] นายกรัฐมนตรีประยุทธ์สั่งเริ่มฉีดวัคซีนป้องกันโครานาสายพันธุ์ใหม่ [มีนาคม] การแพร่ระบาดของโควิดระลอกสาม จากคลัสเตอร์สถานบันเทิง [เมษายน] เลื่อนการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเต็มรูปแบบอีกครั้ง [พฤษภาคม] ปณิภักดิ์ วงษ์พัฒนากิจ คว้าเหรียญทองโอลิมปิกหญิงเทควันโด [กรกฎาคม] เริ่ม Phuket Sandbox [กรกฎาคม] ความเสียหายจากน้ำท่วมเนื่องจากฝนตกหนักที่เกิดจากพายุเตี้ยนหมู่ [กันยายน] นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ประกาศเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจก ที่… Continue reading 10 ข่าวเด่นประจำปี 2021 โดย SBCS

ปัจจุบันโลกกำลังก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล Digital Information หรือ DX

เรื่อง           ขอเชิญร่วมสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อ กลยุทธ์ดิจิทัลของ SMBC เพื่อพัฒนาองค์กรในยุคดิจิทัล เรียน          ลูกค้าผู้ทรงเกียรติ               ปัจจุบันโลกกำลังก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล Digital Information หรือ DX มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบองค์กร ข้อมูลด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลด้านสินค้า การเงิน หรือสัญญา ถูกเข้ามาใช้ในการวางรากฐาน ดำเนินธุรกิจ ตลอดจนการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมขององค์กร เพื่อสร้างธุรกิจรูปแบบใหม่ที่เหมาะสมกับยุคดิจิทัล ในสัมมนาครั้งนี้ Asia Innovation Center ของบริษัทฯเราในสิงคโปร์ ซึ่งให้บริการด้านคำปรึกษาเกี่ยวกับกลยุทธ์ดิจิทัลในเอเชียแปซิฟิก จะแนะนำกลยุทธ์ต่างๆ โดยใช้ตัวอย่างที่บริษัทฯของเราสร้างขึ้นร่วมกับลูกค้าอย่างเป็นรูปธรรม อาทิเช่นการสร้างระบบที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพทั้งทางด้านการเงินและการดำเนินธุรกิจได้พร้อมกัน การใช้ข้อมูลด้าน Supply Chain เพื่อสร้างวิธีแก้ปัญหาด้านการเงินในรูปแบบใหม่ และการพัฒนาของการลงทุนที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (ESG) โดยใช้เครื่องมือดิจิทัลที่แสดงภาพการปล่อย CO2 ทางบริษัทฯหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านจะได้รับข้อมูลที่มีประโยชน์เกี่ยวกับกลยุทธ์ดิจิทัลจากสัมมนานี้ จึงใคร่ขอเรียนเชิญท่านเข้าร่วมสัมมนาดังกล่าว โดยมีรายละเอียดดังนี้ กำหนดการสัมมนา วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2564 11:30 – 12:30  (ตามเวลาในประเทศอินเดีย) 13:00 –… Continue reading ปัจจุบันโลกกำลังก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล Digital Information หรือ DX

Contact
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
สอบถามทางโทรศัพท์
+66 2 677 7270-5
10th Floor, Q. House Lumpini Building,
No. 1 South Sathorn Road, Tungmahamek, Sathorn, Bangkok 10120, Thailand